หน้าเว็บ

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้เข้าสอบตำรวจประจำปี 2554

แนวทางปฎิบัติสำหรับผู้เข้าสอบตำรวจประจำปี 2554 เกี่ยวกับกฎระเบียบในการสอบข้อเขียนตำรวจ วิธีแนวทางปฏิบัติ การทำข้อสอบ การกรอกและระบายกระดาษคำตอบ การระบายรหัสชุดข้อสอบ

ตามระเบียบการ การสอบตำรวจ ปี 54 ผนวก ซ

๑. ระเบียบในวันสอบข้อเขียน
๑.๑ อุปกรณ์ที่นำเข้าห้องสอบได้มี ดินสอดำเบอร์๒B ขึ้นไป สำหรับระบายกระดาษคำตอบ,
ปากกาสีน้ำเงินหรือสีดำ, ยางลบดินสอ, บัตรประจำตัวสอบ, บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัว
เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ที่ไม่หมดอายุ) เท่านั้น

๑.๒ ห้ามนำอาวุธ กระดาษหรือตำรา เครื่องคำนวณเลข เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือหรืออุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เครื่องประดับ นาฬิกาข้อมือ สร้อยคอ แหวน ตุ้มหู อุปกรณ์ทำด้วยโลหะทุกชนิด
ที่นอกเหนือ จากข้อ ๑.๑ เข้าในอาคารสอบหรือห้องสอบหรือพื้นที่หวงห้ามหรือเขตรักษาความปลอดภัย
โดยเด็ดขาด ไม่มีการรับฝากหรืออนุญาตให้วางไว้ภายในอาคาร เมื่อเริ่มลงมือสอบแล้ว หากมีการตรวจค้นพบ
ถือว่าเจตนาทุจริตในการสอบ
๑.๓ การแต่งกายของผู้เข้าสอบ ให้แต่งกายสุภาพ อาทิ ห้ามสวมรองเท้าแตะ เพศหญิง
ห้ามสวมกางเกง ฯลฯ
๑.๔ เมื่อไปถึงสนามสอบให้ตรวจดูผังที่นั่งสอบที่ติดไว้ว่า สอบห้องใด ชั้นใด อาคารใด
๑.๕ ถ้ามีปัญหา เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐสูญหาย
หาห้องสอบไม่พบ หรือไม่มีรหัสประจำตัวสอบในผังที่นั่งสอบ ฯลฯ ให้รีบติดต่อ กองอำนวยการประจำ
สนามสอบนั้นๆ ก่อนเวลาเรียกเข้าห้องสอบ ไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
๑.๖ ในวันสอบข้อเขียนผู้เข้าสอบทุกคนต้องแสดงบัตรประจำตัวสอบ คู่กับ บัตรประจำตัวประชาชน
หรือใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนที่มีรูปถ่ายติดถูกต้อง หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ที่ไม่หมดอายุ)
เพื่อใช้แสดงคู่กัน หากไม่มีบัตรใดบัตรหนึ่งจะไม่อนุญาตให้เข้าสอบ
๑.๗ ในการสอบครั้งนี้ ได้กำหนดให้ผู้เข้าสอบอยู่ในห้องสอบเพื่อทำข้อสอบโดยเมื่อเริ่มเวลาสอบแล้ว
จะไม่อนุญาตให้ผู้สอบออกจากห้องสอบจนกว่าจะหมดเวลาสอบ ยกเว้นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือมีเหตุสุดวิสัย
ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่คุมสอบ หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับให้สอบตก

๒. การสอบข้อเขียน
๒.๑ กำหนดสอบข้อเขียนตั้งแต่ เวลา ๑๔.๐๐ น. เป็นต้นไป (ใช้เวลาทำข้อสอบ ๒ ชั่วโมง 30 นาที)
โดยกำหนดให้ผู้เข้าสอบต้องเข้าห้องสอบ ในเวลา ๑๒.๓๐ น. ทุกคน เพื่อดำเนินการตรวจพิสูจน์ตัวบุคคล และ
แนะนำการระบายรหัสชุดข้อสอบในกระดาษคำตอบ ผู้มาหลังจากเริ่มลงมือสอบแล้ว (เวลา ๑๔.๐๐ น.)
จะไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบ โดยเด็ดขาด
๒.๒ ปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของหัวหน้าห้องสอบ หรือเจ้าหน้าที่คุมสอบ โดยเคร่งครัด
๒.๓ เมื่ออยู่ในห้องสอบ ขณะสอบห้ามพูด หรือติดต่อกับผู้เข้าสอบอื่นหรือบุคคลภายนอก
และไม่ออกจากห้องสอบ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตและอยู่ในความดูแลของหัวหน้าห้องสอบหรือเจ้าหน้าที่ คุมสอบหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยห้องสอบ
๒.๔ ห้ามสูบบุหรี่ในห้องสอบ
๒.๕ จะเริ่มลงมือทำข้อสอบได้ เมื่อหัวหน้าห้องสอบสั่งให้ลงมือสอบแล้ว
๒.๖ เมื่อสอบเสร็จแล้วให้ยกมือขึ้นโดยไม่ต้องลุกจากโต๊ะ หรือเมื่อหมดเวลาสอบแล้วเจ้าหน้าที่
สั่งให้หยุดทำปัญหาข้อสอบต้องหยุดทันที เจ้าหน้าที่จะเดินมารับกระดาษคำตอบและปัญหาข้อสอบคืน
แล้วให้ผู้เข้าสอบลงชื่อส่งกระดาษคำตอบและปัญหาข้อสอบ ถ้าไม่ลงชื่อส่งเป็นหลักฐานไว้จะถือว่าไม่ได้เข้าสอบ
๒.๗ ปัญหาข้อสอบเป็นลิขสิทธิ์ของกองการสอบ กองบัญชาการศึกษา ห้ามนำออก หรือคัดลอก
นำออกนอกห้องสอบเป็นอันขาด ต้องส่งคืนให้ครบทุกหน้าและทุกแผ่น ผู้ใดฝ่าฝืนจะมีความผิดทางกฎหมายและจะพิจารณาให้หมดสิทธิในการสอบแข่งขัน

๓. ห้ามกระทำการทุจริตในการสอบ ผู้ที่ทุจริตในการสอบถือว่าสอบตกทุกวิชา โดยพฤติการณ์
ที่ถือว่าทุจริตในการสอบ ได้แก่
๓.๑ นำตำราหรือเอกสารอื่นใดเข้าห้องสอบ นำหรือพยายามนำปัญหาข้อสอบออกนอกห้องสอบ
๓.๒ พูด ถาม ให้สัญญาณ หรือติดต่อกับผู้สอบอื่นหรือบุคคลภายนอก
๓.๓ ดู หรือพยายามดูคำตอบจากผู้สอบอื่น หรือยอมให้ผู้อื่นดูคำตอบของตน
๓.๔ ไม่เชื่อฟังคำแนะนำ คำตักเตือน หรือคำสั่งของเจ้าหน้าที่คุมสอบ
๓.๕ เปลี่ยนตัวผู้เข้าสอบ
๓.๖ ตอบปัญหาในกระดาษคำตอบแทนกัน
๓.๗ นำโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท
หรือสิ่งของตามที่กำหนดในข้อ ๑.๒ เข้าไปในห้องสอบ หรือในบริเวณเขตหวงห้ามหรือเขตรักษาความปลอดภัยของสนามสอบข้อเขียนกำหนด เพื่อใช้หรือจะใช้ทุจริตหรือเพื่อกรณีอื่นใดในการสอบ เช่น เครื่องมือสื่อสารเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคำนวณเลข นาฬิกาคำนวณเลข ฯลฯ เป็นต้น
๓.๘ มีพฤติการณ์อื่น ๆ ที่ช่วยในการตอบปัญหาข้อสอบอันมิใช่โดยสุจริต

๔. ระเบียบในการกรอกและระบายกระดาษคำตอบ
๔.๑ ให้ตรวจดูว่ากระดาษคำตอบมีรอยด่างดำ สกปรก หรือย่นยับ ฉีกขาด หรือไม่
ถ้ากระดาษคำตอบมีรอยด่างดำสกปรก หรือย่นยับ ฉีกขาด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่คุมสอบทราบเพื่อขอเปลี่ยน
และให้รอคำชี้แจงในการทำความเข้าใจการระบายรหัสประจำชุดข้อสอบให้ชัดเจน
๔.๒ ให้ตรวจดูว่าคำนำหน้าชื่อ ชื่อ – สกุล และ เลขที่ระบายในช่องรหัสประจำตัวสอบ (8 หลัก)
ในกระดาษคำตอบหน้าแรก ตรงกับรหัสประจำตัวสอบของผู้เข้าสอบหรือไม่ หากไม่ถูกต้องตรงกันให้แจ้ง
เจ้าหน้าที่คุมสอบเพื่อขอเปลี่ยนกระดาษคำตอบสำรองใหม่ให้ถูกต้อง ซึ่งกำหนดให้ผู้เข้าสอบต้องใช้
กระดาษคำตอบที่มีเลขรหัสประจำตัวสอบระบาย (8 หลัก) ไว้ตรงกัน กับรหัสประจำตัวสอบหรือต้องเป็น
กระดาษคำตอบสำรองที่เจ้าหน้าที่คุมสอบเปลี่ยนให้เท่านั้น และหากใช้กระดาษคำตอบ ไม่ถูกต้องตามที่
กำหนดไว้นี้ ถือว่ามีเจตนาทุจริตในการสอบ
๔.๓ ใช้ปากกาหมึกซึมหรือปากกาลูกลื่นเท่านั้น เพื่อลงลายมือชื่อในช่องที่กำหนด
๔.๔ เมื่อเปิดผนึกซองปัญหาข้อสอบ ให้ตรวจว่ามีเลข (๗ หลัก) รหัสชุดข้อสอบที่
ด้านบนขวามือ และให้นำเลขดังกล่าว (๗ หลัก) มาระบายลงในช่องที่กำหนดในกระดาษคำตอบให้ถูกต้องครบถ้วน (ลักษณะเดียวกันกับการระบายรหัสประจำตัวสอบ) ด้วยดินสอดำเบอร์ 2B ขึ้นไปให้ถูกต้อง
หากระบายผิดถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบการสอบข้อเขียน โดยจะถือว่ากระดาษคำตอบนั้นเสีย
และถือว่าสอบตก
4.5 กรณีใช้กระดาษคำ ตอบสำ รอง ให้ใช้ปากกาหมึกซึมหรือปากกาลูกลื่นเท่านั้น
เขียนข้อความลงในช่องว่างที่กระดาษคำตอบหน้าแรกด้านบน ได้แก่
1) คำนำหน้าชื่อ ชื่อ – สกุล
2) เลขประจำ ตัวประชาชน (13 หลัก)
3) สถานที่สอบ
4) ห้องสอบ 5) วัน เดือน ปี
6) รหัสประจำตัวสอบในช่องว่างสี่เหลี่ยม (8 หลัก) และ ๗) รหัสชุดข้อสอบ (7 หลัก) แล้วให้ใช้เฉพาะดินสอดำเบอร์2B ขึ้นไป ระบายรหัสประจำตัวสอบ และรหัสชุดข้อสอบของตัวเองในช่องวงกลมที่กำหนด ตามตัวอย่างคำแนะนำที่แสดงไว้ในกระดาษคำตอบ (คือระบายให้ดำเข้มเต็มวงเสมอกันหมด) โดยให้ระมัดระวังการระบายรหัสประจำตัวสอบ โดยเฉพาะเลข 0 และเลข 1 ซึ่งในวงกลมที่ให้ระบายรหัสประจำตัวสอบแต่ละช่องนั้นจะเริ่มต้นที่เลข 0 และเรียงลงมาเป็นเลข 1 ไปจนถึงเลข 9 ทุกช่อง (8 หลัก) หากระบายผิดจะถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าสอบ และจะไม่ตรวจให้คะแนน
4.6 ห้ามเขียนสิ่งใดลงในกระดาษคำตอบนอกจากที่กำหนดไว้ อย่าพับ หรือทำให้กระดาษคำตอบ
มีรอยด่างดำ สกปรก หรือย่นยัก ฉีกขาด มิฉะนั้นจะไม่ตรวจกระดาษคำตอบให้โดยถือว่าเป็นกระดาษเสีย
๔.7 เมื่อได้รับปัญหาข้อสอบแล้วให้ปฏิบัติ ดังนี้
๔.7.๑ ตรวจดูปัญหาข้อสอบ ว่ามีครบทุกแผ่น ทุกหน้าหรือไม่ หากพบสิ่งใดบกพร่อง
ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่คุมสอบ หากมีคำสั่งให้ลงมือสอบแล้ว เจ้าหน้าที่คุมสอบจะไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนให้
เพราะถือว่าได้ให้เวลาตรวจดูแล้วก่อนเริ่มลงมือสอบ
๔.7.๒ ในการตอบปัญหาข้อสอบให้ใช้ดินสอดำเบอร์๒B ขึ้นไปเท่านั้น ระบายในข้อ
วงกลมเล็กที่เห็นว่าถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว โดยให้ระบายดำเข้มเต็มวงแต่อย่าให้ล้ำออกไปนอกวง
หากต้องการเปลี่ยนแปลงให้ลบด้วยยางลบอย่างอ่อนจนสะอาดจริงๆ แล้วระบายใหม่
๔.7.๓ ขณะตอบปัญหาข้อสอบ หากมีกรณีสงสัยว่าคำถามหรือคำตอบในปัญหาข้อสอบ
จะผิดหรือบกพร่อง ไม่ต้องถามเจ้าหน้าที่คุมสอบ แต่ให้ตอบลงไปตามที่เห็นสมควร ห้ามเว้นว่างไว้กรณีที่ปัญหาข้อสอบไม่ถูกต้องหรือคำตอบที่ให้เลือกตอบไม่ถูก ต้อง ทางคณะกรรมการดำเนินการสอบที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาและประกาศยกเลิกข้อสอบใน ข้อนั้นๆ โดยไม่มีการตรวจให้คะแนนแก่ผู้เข้าสอบทุกคน
๔.๘ เมื่อเจ้าหน้าที่คุมสอบสั่งให้ลงมือสอบแล้ว จะไม่เปลี่ยนกระดาษคำตอบหรือปัญหาข้อสอบ
ให้อีกโดยเด็ดขาด
๔.๙ กรณีที่ผู้เข้าสอบทำข้อสอบโดยใช้ปัญหาข้อสอบและ/หรือกระดาษคำตอบที่ไม่ใช่ของตน
จะถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าสอบเอง โดยในการตรวจกระดาษคำตอบ คณะกรรมการตรวจ
กระดาษคำตอบ จะตรวจกระดาษคำตอบให้ตามเฉลยคำตอบเท่านั้น ผู้เข้าสอบจะเรียกร้องสิทธิใดๆ
นอกเหนือจากระเบียบนี้มิได้
๔.๑๐ ผู้ที่ระบายรหัสชุดข้อสอบผิด ระบายไม่ครบ หรือเกิน ระบายถูกแต่จางเกินไป ระบายรหัส
ชุดข้อสอบซ้ำกับผู้อื่น หรือไม่ระบายรหัสชุดข้อสอบ หรือระบายด้วยเครื่องเขียนอย่างอื่น หรือทำให้กระดาษคำตอบ
มีรอยด่างดำ สกปรก ย่นยับ หรือฉีก เป็นเหตุให้เครื่องตรวจกระดาษคำตอบไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ว่า
เป็นรหัสชุดข้อสอบใด จะถือว่ากระดาษคำตอบนั้นเสียเกิดจากการกระทำของผู้เข้าสอบเอง และถือว่าเป็นผู้สอบตก กรณีที่ระบายคำตอบจาง ระบายคำตอบดำไม่เต็มวง หรือระบายด้วยเครื่องเขียนอย่างอื่นหรือด้วยกรณีใดๆ ทำให้เครื่องตรวจกระดาษคำตอบไม่ตรวจให้คะแนนทั้งหมดหรือบางข้อ คณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจกระดาษคำตอบจะถือผลตามที่เครื่อง ตรวจกระดาษคำตอบตรวจให้
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการดังกล่าวจะบันทึกแสดงเหตุผลไว้เป็นหลักฐาน
๔.๑๑ เนื่องจากมีผู้สมัครสอบเป็นจำนวนมาก และการสอบครั้งนี้เป็นข้อสอบแบบปรนัยจะตรวจ
บันทึกคะแนนโดยใช้เครื่องตรวจกระดาษคำตอบ โดยจะถือผลคะแนนตามผลการตรวจของเครื่องตรวจ
กระดาษคำตอบเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

:: สนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ::