หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พรบ.บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546


                                                          
พระราชกฤษฏีการว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
ก่อนท่านจะ ทำแบบทดสอบ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ.2546
ขอทำความเข้าใจก่อนครับ  ว่า  คำว่า พรก. และ กพร. บางท่านยังไม่เข้าใจ   พูดปนกันนะครับ
ผมจะพูดตาม หลักตำรา วิชา การจัดการภาครัฐนะ  ครับ
            สาระสำคัญของเนื้อหาที่นำเสนอประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
      1. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย(.. 2546 - 2550)
      2. หลักการตามมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545
      3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี .. 2546
เอาย่อ ๆนะครับ เพราะยังไม่เกี่ยวกับแนวข้อสอบ
 
        ในช่วงประเทศไทยเราในบริบทของความเปลี่ยนแปลงในการบริหารราชการใหม่ ๆ ที่มีการผสมผสานแนวคิดทั้งจากการบริหารธุรกิจของเอกชน และการบริหารงานภาครัฐกิจ มีแนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และวิธีการทำงานของข้าราชการในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติราชการดังกล่าวปรากฏว่ายังมีการนำหลักการดังกล่าวไปปรับปรุงระบบและวิธีปฏิบัติงานในส่วนราชการไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งจะมีผลต่อการบริหารบุคคลภาครัฐและการปรับปรุงโครงสร้างภาครัฐ และพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในองค์กรต่าง ๆ ของราชการไทย ฯลฯ
   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาระบบราชการไทยขึ้น  โดยกำหนด เรียกว่า  แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย(.. 2546 - 2550)
      คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย .. 2546 - 2550 ขึ้น โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการในช่วงระยะปี .. 2546 - 2550 ว่า
      พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและประโยชน์สุขของประชาชน
โดยกำหนดเป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน และแนวทางการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ไว้ดังนี้
      เป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทย 4 ประการ
- พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น
-
ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม
-
ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงเทียบเท่าเกณฑ์สากล
-
ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย
       ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย มี 7 ประการ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน  
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน  
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่  
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม  
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย  
ยุทธศาสตร์ที่ 7 : การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 
การจะนำยุทธศาสตร์ทั้ง 7 ไปสู่การปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ต้องมี เครื่องมือต่าง ๆที่จะนำยุทธศาสตร์ทั้ง 7 ข้อนี้  ไปปฏิบัติ   จึงต้องตราเป็นพระราชกฤษฏีกา (พรก. ) ขึ้น โดยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับหลักการตามมาตรา 3/1  และ มาตรา 71/10 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2545 จึงเกิด พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี .. 2546   ขึ้นนี่ละครับ
ฉะนั้นคงเข้าใจ คำว่า  กพร. และ  พรก.แล้วนะครับ
2.  หลักการตามมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545
  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 จัดเป็นกฎหมายแม่บทในการปฏิรูประบบราชการของประเทศไทยในช่วงปัจจุบัน ได้กำหนดหลักการทั่วไปในการบริหารราชการแผ่นดินในช่วงปัจจุบันไว้ว่า การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยต้องมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน
ตามมาตรา 3/1 ได้กำหนดหลักการในการบริหารราชการแผ่นดินว่า ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตราดังกล่าวจะตราเป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการปฏิบัติก็ได้ ในการนี้คณะกรรมการ ก.พ.ร. และสำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 ได้มีมติเห็นชอบด้วยกับหลักการที่เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ
1.    การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2.    การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3.    การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4.    การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
5.    การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
6.    การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน และ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ 
3.พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
.. 2546
      ในการดำเนินการปฏิรูประบบราชการ นอกจากจะมีการกำหนดนโยบายในรูปแบบของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการแล้ว รัฐบาลยังได้มีออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี .. 2546 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยมีความประสงค์จะให้ใช้บังคับกับส่วนราชการในทุกกระทรวง ทบวง กรม ทั้งที่เป็นราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มีการจัดตั้งขึ้น และมีการปฏิบัติราชการเช่นเดียวกับกระทรวง ทบวง กรม โดยมีรายละเอียดของหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และกรอบแนวทางการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
หมวดที่ 1 เป็นการกำหนดขอบเขตความหมาย
หมวดที่ 2 กำหนดแนวทางการบริหารราชการ
หมวดที่ 3 กล่าวถึง การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
หมวดที่ 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า
หมวดที่ 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
หมวดที่ 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
หมวดที่ 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
หมวดที่ 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ 
                ******************
.มาตรา 1  พระราชกฤษฏีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ.2546
มาตรา 2 พระกฤษฏีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา     เป็นต้นไป
ข้อ 1 การปฏิบัติตามพระราชกฤษฏีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใดและจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด  ให้เป็นไปเช่นใด?
ก.  ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะ ก.พ.ร.                                              
 ข.  ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะ พ.ร.ก.                                             
ค.  ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะ ก.พ.                                               
ง.   ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะ พ.ร.บ.
.ตอบ ก.  ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะ ก.พ.ร.(  มาตรา 3)
มาตรา 3 การปฏิบัติตามพระราชกฤษฏีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใดและจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะ ก.พ.ร.  (หวังว่าเข้าใจคำว่า ก.พ.ร.และ พ.ร.ก.แล้วนะครับหากยังไม่เข้าใจย้อนขึ้นไปดูนะครับ)
ข้อ 2  ในพระราชกฤษฏีกานี้  คำว่า ส่วนราชการ หมายความว่า อย่างไร?
ก.  ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริการ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                   
ข.  ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ค.  ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ง.  ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ ง.  ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(มาตรา 4)
มาตรา 4  ในพระราชกฤษฏีกานี้
 ส่วนราชการ หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับข่องราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจ หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฏีกา
ข้าราชการ หมายความรวมถึงพนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ
ข้อ 3 ข้าราชการ  ตามพระราชกฤษฏีกานี้หมายความรวมถึงใครบ้าง?
ก.       พนักงาน
ข.        ลูกจ้าง
ค.       ผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ
ง.        ถูกหมด
ตอบ ง.ถูกหมด   (มาตรา 4 ดูคำเฉลยข้อ 2)
ข้อ 4 รัฐวิสาหกิจ หมายความว่า อย่างไร?
ก.       รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ
ข.       รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฏีกา
     ค. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎกระทรวง
  ง. ถูกหมดทั้ง ก.และ ข.
ตอบ ง. ถูกหมดทั้ง ก.และ ข.
(มาตรา 4 ดูคำเฉลยข้อ 2)
ข้อ 5 ใครเป็นผู้รักษาการ ตาม พระราชกฤษฏีกานี้
ก.นายกรัฐมนตรี
ข.ประธานคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาระบบราชการไทย                                                    
ค.คณะรัฐมนตรี                                                                                                         
ง.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ตอบ ก.นายกรัฐมนตรี มาตรา 5
มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฏีกานี้
     ข้อ 6 ข้อใดเป็นการบริหารเพื่อบรรลุเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก.  เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ข. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค.  มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
 
ง.ถูกหมดทุกข้อ 
ตอบ ง.ถูกหมดทุกข้อ( หมวดที่ 1 มาตรา 6)
ข้อ 7 ข้อใดผิดเรื่องของบริหารเพื่อบรรลุเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก.  ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
ข. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์
ค. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ
ง.   มีการวางแผนเตรียมการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
ตอบ  ง.   มีการวางแผนเตรียมการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ( หมวดที่ 1 มาตรา 6)
 หมวดที่ 1    การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
1)      เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2) 
เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3) 
มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4) 
ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์
6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ
7) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
 
ข้อ 8  การบริหารราชการให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่ออะไรบ้าง?(ข้อใดผิด)
ก.เพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
ข.เพื่อ ความสงบและปลอดภัยของสังคม ส่วนรวม
ค.เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีงาม
ง.เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ
ตอบ ค.เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีงาม(หมวดที่ 2 มาตรา 7 )
หมวดที่ 2
การบริหารราชการให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
มาตรา 7  การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคม ส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
ข้อ 9  ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้ 
ก.  การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
ข.  การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยมีความซื่อสัตย์สุจริตสามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
ค.ก่อนเริ่มดำเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน
 ง.ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ  ง.ทุกข้อที่กล่าวมา
 ( มาตรา 8)
ข้อ 10 ข้อใดผิดหลักแนวทางการบริหารราชการการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ?
ก.ข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา
ข.ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
ค.ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
ง.การดำเนินการตามต่าง ๆที่กล่าวมาให้ประชาชนกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
ตอบ ง.การดำเนินการตามต่าง ๆที่กล่าวมาให้ประชาชนกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
(มาตรา 8 วรรคสุดท้าย)
มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
(1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
2)  การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยมีความซื่อสัตย์สุจริตสามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
3) ก่อนเริ่มดำเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน  กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส  กลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
4)  ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
5)  ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่นให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และให้แจ้ง ก.พ.ร.ทราบด้วย
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่องทั้งนี้ ก.พ.ร.จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้

ข้อ 11    การบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อใดผิดจากหลักการ?
ก. ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
 ข. การดำเนินแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม ( ก)ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้น เป้าหมายของการกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
 ค. ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้นซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตราฐาน ที่ ก.พ.ร.กำหนด
ง. ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของประชาชนต้องช่วยกันตรวจสอบแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม 
ตอบ ง. ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของประชาชนต้องช่วยกันตรวจสอบแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม   (ข้อนี้ผิด ตามมาตรา  9 ของหมวดที่ 3)
      หมวดที่ 3  การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  มาตรา 9 การบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1)ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
(2) การดำเนินแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (1)ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้น เป้าหมายของการกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
(3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้นซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตราฐาน ที่ ก.พ.ร.กำหนด
(4 ) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม


ข้อ 12   ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน ควรทำเช่นใด ?
ก.ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ 
ข.ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกำหนดทิศทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่องานภภาครัฐ
ค. ให้ส่วนราชการที่เป็นต้นสังกัดศึกษาแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  ?
ง. ถูกหมดทุกข้อ
ตอบ  ก.ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  (มาตรา 10)
ข้อ 13   ให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าคณะผู้แทนในต่างประเทศ เพื่ออะไร?
      ก.เพื่อให้การบูรณาการงานต่าง ๆในจังหวัดหรือในต่างประเทศ สามารถยืนยันตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
      ข.เพื่อให้จังหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี สามารถใช้ติดต่อกับประชาชนได้โดยตรงโดยใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วน
ค.เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็นและบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ง. เพื่อให้ประชาชนทั้งในและต่างประเทศสามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็นและบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ  ค.เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็นและบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (มาตรา 10)
มาตรา 10 ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าคณะผู้แทนในต่างประเทศ เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็นและบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 14   เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฏีกานี้ ส่วนราชการควรจะดำเนินการเช่นใด?(ข้อใดผิดจากหลัการ)
ก.ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
ข.ส่วนราชการต้องต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์
ค. ส่วนราชการต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้สามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน
ง.ส่วนราชการต้องพัฒนาหน่วยงานโดยทำกิจกรรม 5 ส.อย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงความเป็นอยุ่ร่วมกันกับประชาชน
ตอบ   ข้อ ง  ส่วนราชการต้องพัฒนาหน่วยงานโดยทำกิจกรรม 5 ส.อย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงความเป็นอยุ่ร่วมกันกับประชาชน (ผิดจากหลักการ  ตาม มาตราที่  11 )

มาตรา 11    ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้สามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฏีกานี้
ข้อ 15    เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์  ก.พ.ร.อาจเสนอต่อใครเพื่อกำหนดการปฏิบัติราชการ และโดยวิธีใด?
ก.  ก.พ.ร.อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
 ข.ก.พ.ร.อาจเสนอต่อรัฐมนตรีมหาดไทยเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำแผนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
ค.  ก.พ.ร.อาจเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
ง. ก.พ.ร.อาจเสนอต่อ ประธาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการไทยเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
ตอบ  ก.  ก.พ.ร.อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (มาตรา 12)
มาตรา 12    เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์  ก.พ.ร.อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
ข้อ 16  คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี  เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้วหน่วยงานใดมีหน้าที่จัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรี   
ก.สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ข.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ค.สำนักงบประมาณ
ง.ทุกข้อที่กล่าวมาต้องร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรี
ตอบ    ง.ทุกข้อที่กล่าวมาต้องร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรี  (มาตรา 13)
ข้อ 17  จากข้อ 16  หน่วยงานดังกล่าวจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในกี่วัน ?
ก.สามสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ข.หกสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ค.เก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ง.หนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ตอบ ค.เก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา (มาตรา 13)
ข้อ 18  ผลจากข้อ 17  เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดินตาม ข้อ 16 แล้วจักมีผลประการใด?
ก. มีผลถือว่าเสร็จสิ้นตามแผน การบริหารราชการแผ่นดิน ทุกประการ
ข. มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี สิ้นสุดการดำเนินการตามแผน การบริหารราชการแผ่นดินนั้น
ค. มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดำเนินการจัดทำภารกิจให้เป็นไปตามแผน การบริหารราชการแผ่นดินนั้น
ง. มีผลผูกพันกับรัฐมนตรี และส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการจัดทำภารกิจให้เป็นไปตามแผน การบริหารราชการแผ่นดินนั้น
ตอบ .ค. มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดำเนินการจัดทำภารกิจให้เป็นไปตามแผน การบริหารราชการแผ่นดินนั้น  (มาตรา 13)
มาตรา 13    ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี
                เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
                เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดินตามวรรคหนึ่งแล้วให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดำเนินการจัดทำภารกิจให้เป็นไปตามแผน การบริหารราชการแผ่นดินนั้น
ข้อ 19   จากการจัดทำแผนการบริหารราชการแผนดินตามมาตรา 13 ให้จัดทำเป็นแผนกำหนด กี่ปี?
ก.สามปี
ข.สี่ปี
ค.ห้าปี
ง.หกปี
ตอบ  สี่ปี          (มาตรา 14 )
ข้อ 20  แผนการบริหารราชการแผนดิน ตามข้อ 19 นำมาจากโดยทางใดบ้าง?
 ก.โดยนำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข.แผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ค.จากนโยบายที่รัฐบาลเคยเห็นชอบและถูกแก้ไขปรับปรุงแล้วแต่ยังไม่เคยนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ง.ข้อ ก และ ข.ถูก
ตอบ . ง.ข้อ ก และ ข.ถูก (มาตรา 14)
ข้อ 21  แผนการบริหารราชการแผนดินอย่างน้อยจะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการข้อต่อไปนี้ ข้อใดไม่ถูก?
ก.จะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
ข.จะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ
ค.จะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการ และการติดตามประเมินผล
ง.จะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับกลยุทธ์  ยุทธศาสตร์ การบริหารงานบุคคล ภาวะผู้นำ และการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ
ตอบ .ง.จะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับกลยุทธ์  ยุทธศาสตร์ การบริหารงานบุคคล ภาวะผู้นำ และการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ (ข้อนี้ถูก เพราะ เป็นข้อผิด ห้ามงง นะครับ) (มาตรา 14)


มาตรา 14    ในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผนดินตามมาตรา 13 ให้จัดทำเป็นแผนสี่ปีโดยนำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งนี้ อย่างน้อยจะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการ และการติดตามประเมินผล
:ข้อ 22    เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว  หน่วยงานใดต้องพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ?
ก.            ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข.สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  
ค.ทั้ง ก และ ข. ร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ
ง. ทั้ง ก และ ข  และต้องมีสำนักอัยการสูงสุดร่วมพิจารณาด้วย
ตอบ  ค.ทั้ง ก และ ข. ร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ ( มาตรา 15 )
 ข้อ 23      แผนนิติบัญญัติ ตามข้อ 22  มีรายละเอียดอะไรบ้าง?
ก.โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่
ข.โดยมีรายละเอียดกฎหมายที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม
ค.โดยมีรายละเอียดกฏหมายที่ยกเลิกให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนราชการผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ
ง.ถูกหมด ครับ
ตอบ. ง.ถูกหมด ครับ(มาตรา 15)
 ข้อ 24    แผนนิติบัญญัตินั้น ต้องให้ใครเห็นชอบจึงจะมีผลผูกพันส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น?
ก.คณะรัฐมนตรี
ข.รัฐมนตรี
ค.คณะตุลาการ
ง.คณะอัยการสุงสุด
ตอบ ก.คณะรัฐมนตรี  (มาตรา 15)

มาตรา 15เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่หรือกฎหมายที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนราชการผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ
                   แผนนิติบัญญัตินั้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแล้ว ให้มีผลผูกพันส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
                   ในกรณีที่เห็นสมควร สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำแผนนิติบัญญัติเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานก็ได้
ข้อ 25 ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตาม มาตรา 13 และ ในแต่ละปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยให้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
             เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใด แล้วให้หน่วยงานใดทำเช่นใด?(อย่าเบื่อเพราะโจทย์ยาว  หากเข้าใจแค่จำโจทย์ได้ ก็เท่ากับ 1มาตราครับ)
ก.ให้สำนักงบประมาณดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจ ตามแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว
ข.ให้สำนักตรวจเงินแผ่นดินดำเนินการตรวจเงินงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจ ตามแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว
ค.ให้กระทรวงการคลังดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจ ตามแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว
ง. ให้ทุกข้อที่กล่าวมาดำเนินการร่วมกันเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจ ตามแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว
ตอบ ก.ให้สำนักงบประมาณดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจ ตามแผนปฏิบัติราชการดังกล่า(มาตรา 16)



ข้อ 26  ถ้าในกรณีที่ส่วนราชการมิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการในภารกิจใด หรือภารกิจใดไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี  จะดำเนินการเช่นใด?
ก. มิให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น
ข.. มิให้กระทรวงการคลังจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น
ค. มิให้สำนักตรวจเงินแผ่นดินตรวจงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น
ง. มิให้ ข้อ ก. และ ข และ ค. จัดสรรงบประมาณและตรวจสอบสำหรับภารกิจนั้น
ตอบ ก. มิให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น (มาตรา 16)

     มาตรา 16  ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตาม มาตรา 13
                   ในแต่ละปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยให้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
                   เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใด ตามวรรคสองแล้ว ให้สำนักงบประมาณดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจ ตามแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว
                   ในกรณีที่ส่วนราชการมิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการในภารกิจใด หรือภารกิจใดไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี มิให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น
                   เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำรายงาน แสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ข้อ 27  ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณกำหนดให้ ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการเพื่อขอรับงบประมาณ หน่วยงานใดต้องกำหนดแนวทางการจัดทำแผน ให้สามารถใช้ได้กับแผนปฏิบัติราชการที่ ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เพิ่มภาระงานในการจัดทำแผนจนเกินสมควร ?
ก.สำนักงบประมาณ กำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
ข. ก.พ.ร. กำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
ค.สำนักงบประมาณ และ กระทรวงการคลัง ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
ง.สำนักงบประมาณ และ ก.พ.ร. ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
ตอบ  ง.สำนักงบประมาณ และ ก.พ.ร. ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ  (มาตรา 17)
มาตรา 17  ในกรณีที่กฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณกำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการเพื่อขอรับงบประมาณ ให้สำนักงบประมาณ และ ก.พ.ร. ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการตาม ม.16  ให้สามารถใช้ได้กับแผนปฏิบัติราชการที่ต้องจัดทำตามกฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เพิ่มภาระงานในการจัดทำแผนจนกินสมควร
ข้อ 28   เมื่อมีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดแล้ว การโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดำเนินการอย่างอื่น ซึ่งมีผลทำให้ภารกิจเดิมไม่บรรลุเป้าหมายหรือนำไปใช้ในภารกิจใหม่ที่มิได้กำหนดในแผนปฏิบัติราชการ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากใคร?
ก.ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี 
ข. สำนักงบประมาณ
ค. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการไทย
ง. ก.พ.ร.
ตอบ   ก.ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี  (มาตรา 18)
ข้อ 29     การปรับแผนปฏิบัติราชการตามข้อ 28 จะกระทำได้เฉพาะในกรณีใดได้บ้าง ข้อใดไม่อยู่ในกรณีดังกล่าว?
ก.กรณีที่งานหรือภารกิจใดไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้
ข.กรณีที่งานหรือภารกิจหมดความจำเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์ หรือหากดำเนินการต่อไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น
ค.กรณีที่งานหรือภารกิจมีความจำเป็นอย่างอื่นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการ
ง.กรณีที่งานหรือภารกิจมีเวลา งบประมารจำกัด หากทำตามแผนแล้วคาดเดาว่าไม่มีทางทำได้
ตอบ  ง.กรณีที่งานหรือภารกิจมีเวลา งบประมารจำกัด หากทำตามแผนแล้วคาดเดาว่าไม่มีทางทำได้ (มาตรา 18)
มาตรา 18 เมื่อมีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดแล้ว การโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดำเนินการอย่างอื่น ซึ่งมีผลทำให้ภารกิจเดิมไม่บรรลุเป้าหมายหรือนำไปใช้ในภารกิจใหม่ที่มิได้กำหนดในแผนปฏิบัติราชการ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ปรับแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกันแล้ว
 การปรับแผนปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่งจะกระทำได้เฉพาะในกรณี ที่งานหรือภารกิจใดไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หรือหมดความจำเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์ หรือหากดำเนินการต่อไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น หรือมีความจำเป็นอย่างอื่นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการ
 เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับแผนปฏิบัติราชการแล้ว ให้ดำเนินการแก้ไขแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกันด้วย
ข้อ 30  ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่ดำเนินการอะไรบ้าง  เพื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป  ข้อใดไม่ถูกต้อง?
ก.ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการ
ข.ให้หัวหน้าส่วนราชการให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ สั่งการ
ค.ให้หัวหน้าส่วนราชการเร่งดำเนินการพิจารณาทำแผนนโยบายใหม่เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีคนใหม่ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
ง. ข้อ ถูก หมดทุกข้อ
ตอบ  ค.ให้หัวหน้าส่วนราชการเร่งดำเนินการพิจารณาทำแผนนโยบายใหม่เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีคนใหม่ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว (มาตรา 19)
มาตรา 19  เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ สั่งการ ทั้งนี้ เพื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนด นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป


ข้อ 31   ข้อใดเป็นสิ่งที่ส่วนราชการพึ่งกระทำเพื่อให้การปฏิบัติราชการภายในส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ?
ก.ให้ส่วนราชการกำหนดนโยบาย แผนการทำงาน ระยะเวลาของนโยบายของงาน และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ และต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามสายงานให้ทราบทั่วกันด้วย
ข.ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย
คให้ส่วนราชการกำหนดการบริหารงานบุคคล หรือการอบรมบุคลากร และพร้อมเตรียมงบประมาณที่จะต้องใช้ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย
ง.ให้ส่วนราชการกำหนดเร่งดำเนินการเป้าหมาย แผนการทำงาน ให้แล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และต้องติดตามประเมินผลโครงการ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย
ตอบ ข.ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย   (มาตรา 20 หมวดที่ 4 )
หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
มาตรา 20  เพื่อให้การปฏิบัติราชการภายในส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย
ข้อ 32  ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่หน่วยการใดเป็นผู้กำหนด ?
                ก.สำนักงบประมาณกำหนด
               ข.กรมบัญชีกลางกำหนด
                ค.กระทรวงการคลังกำหนด
               ง.ทุกข้อถูกหมด
ตอบ   ข. กรมบัญชีกลางกำหนด  (มาตรา 21 )
ข้อ 32   ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้นตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายงานให้ใครทราบ?
ก.ให้สำนักงานงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ. ร. ทราบ
ข.   ให้กระทรวงการคลังทราบ
ค. ให้นายกรัฐมนตรี ทราบ
ง. ให้คณะรัฐมนตรีทราบ
ตอบ   ก.ให้สำนักงานงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ. ร. ทราบ (มาตรา 21)
ข้อ 33  ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่ารายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะ
ประเภทและคุณภาพเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงาน
บริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลางและ ก.พ.ร. ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายในกี่วัน
ก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่านนั้นต่อไปได้?
ก.เจ็ดวัน
ข.สิบวัน
ค.สิบห้าวัน
ง.ยี่สิบวัน
ตอบ  ค.สิบห้าวัน  (มาตรา 21)
มาตรา 21   ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้อนทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้นตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายงานให้สำนักงานงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ. ร. ทราบ
ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่ารายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลางและ ก.พ.ร. ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายในสิบห้าวันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้
ข้อ 34  ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก  และเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป  ทั้งนี้  ตามระยะเวลาตามกำหนดของใคร?
ก.            ก.พ.ร
ข.             นายกรัฐมนตรี
ค.            คณะรัฐมนตรี
ง.             การทรวงการคลัง
ตอบ   ค.คณะรัฐมนตรี  (มาตรา 22)
ข้อ 35  คำว่า การประเมินความคุ้มค่าตาม ข้อ 34 ต้องคำนึ่งถึงอะไรบ้าง ข้อใดผิด?
ก. ให้คำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดำเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้และรายจ่ายที่ต้องเสียไปก่อนที่ส่วนราชการดำเนินการด้วย
ข.ให้คำถึงประโยชน์หรือผลเสียทางสังคม  ซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ด้วย
ค.ให้คำถึงประโยชน์หรือผลเสียอื่น ซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ด้วย
ง.ให้คำนึงถึงให้คำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดำเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้และรายจ่ายที่ต้องเสียไปก่อนและหลังที่ส่วนราชการดำเนินการด้วยตอบ    ก. ให้คำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดำเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้และรายจ่ายที่ต้องเสียไปก่อนที่ส่วนราชการดำเนินการด้วย (มาตรา 22)มาตรา  22    ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก  และเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป  ทั้งนี้  ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนดในการประเมินความคุ้มค่าตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดำนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้และรายจ่ายที่ต้องเสียไปก่อนและหลังที่ส่วนราชการดำเนินการด้วยความคุ้มค่าตามมาตรานี้ ให้หมายความถึงประโยชน์หรือผลเสียทางสังคม และประโยชน์หรือผลเสียอื่น ซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ด้วย


ข้อ 36 ข้อใดผิดหลักการจัดซื้อจัดจ้าง?
ก.      ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม
ข.      พิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคาและประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน
ค. ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเหตุให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพและการดูแลรักษาเป็นสำคัญให้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป
ง. ก.พ.ร.ที่มีหน้าที่ดูแลระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง และปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ ง. ก.พ.ร.ที่มีหน้าที่ดูแลระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง และปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ (มาตรา 23)
มาตรา   23  ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรมโดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคาและประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน
ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเหตุให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพและการดูแลรักษาเป็นสำคัญให้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป
ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลระเบียบเกี่ยวกับการพัสดุปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 37   ส่วนราชการที่มีอำนาจในการอนุญาต อนุมัติ  การปฏิบัติภารกิจใด ตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ  ให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอทราบภายในกี่วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ?
ก.สิบวัน
ข.สิบห้าวัน
ค.ยี่สิบวัน
ง.สามสิบวัน
ตอบ  ข.สิบห้าวัน (มาตรา 24)
ข้อ 38    ในกรณีที่เรื่องใดมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนด ขั้นตอนการปฏิบัติไว้  ตามข้อ 37 หากต้องใช้เวลาเกินสิบห้าวัน ให้ทำเช่นใด?
ก.      ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ อนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ  ประกาศกำหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วนราชการอื่นทราบ
ข.      ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ อนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ แถลงการณ์ระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วนราชการอื่นทราบ
ค.      ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ อนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบทำเป็นคำสั่งกำหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วนราชการอื่นทราบ
ตอบ   ก.ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ อนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ  ประกาศกำหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วนราชการอื่นทราบ(มาตรา 24)
 ข้อ 39   ส่วนราชการใดที่มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ มิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ หากเกิดความเสียหายใดขึ้น  ให้ถือว่า?
ก.ให้ถือว่าหัวหน้าส่วนราชการนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง                                                       
ข.ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 
ค.ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วนราชการนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 
ง.ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่และหัวหน้าส่วนราชการนั้นผิดวินัยอย่างร้ายแรง 
ตอบ   ค.ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วนราชการนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง   (มาตรา 24)
ข้อ 40 จากข้อ 39  มีข้ออ้างใดจะเป็นข้อยกเว้นได้ จากความเสียหายที่เกิดขึ้น?
ก.เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความล่าช้านั้นมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของตน
ข.เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้ความล่าช้าตามข้อกล่าวหา
ค.เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความล่าช้านั้นเกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิค
ง.ทุกข้อสามารถนำมาเป็นข้อยกเว้นได้
ตอบ  ก.เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความล่าช้านั้นมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของตน(24)
มาตรา  24   ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือ ความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่น ตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนด ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบดังกล่าว แจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
                ในกรณีที่เรื่องใดมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนด ขั้นตอนการปฏิบัติไว้ และขั้นตอนการปฏิบัตินั้นต้องใช้เวลาเกินสิบห้าวัน ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ อนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบประกาศกำหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วนราชการอื่นทราบ
          ส่วนราชการใดที่มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ มิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากเกิดความเสียหายใดขึ้น ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วนราชการนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความล่าช้านั้นมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของตน

ข้อ 41   ในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใด ๆ ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่รับผิดชอบในปัญหานั้น ๆ และในการตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาวินิจฉัย ให้ดำเนินการได้เท่าใด?
ก.ให้ดำเนินการได้เท่าที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ข.ให้ดำเนินการได้เต็มที่
ค.ให้ดำเนินการได้ตามขั้นตอน อย่างเต็มความสามารถ
ง.ให้ดำเนินการรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ที่พึงจะกระทำ
ตอบ  ก.ให้ดำเนินการได้เท่าที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  (มาตรา 25)

ข้อ 42     ในการพิจารณาเรื่องใด ๆ โดยคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการมีมติเป็นประการใดแล้ว ปรากฏว่าผู้แทนส่วนราชการที่เป็นกรรมการมิได้เข้าร่วมพิจารณาด้วย  ผลจะเป็นประการใด?
                ก.ให้มติของคณะกรรมการผูกพันส่วนราชการซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย
                ข.ถ้ามีความเห็นแตกต่างกันสองฝ่าย ให้บันทึกความเห็นของกรรมการฝ่ายข้างน้อยไว้ให้ปรากฏในเรื่องนั้นด้วย
                ค.ความผูกพันที่กำหนดในข้อ ก. มิให้ใช้บังคับกับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
          ง. ถูกหมดทุกข้อ
ตอบ    ง. ถูกหมดทุกข้อ ( มาตรา 25)

มาตรา  25  ในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใด ๆ ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่รับผิดชอบในปัญหานั้น ๆ จะต้องพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว การตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาวินิจฉัย ให้ดำเนินการได้เท่าที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
                ในการพิจารณาเรื่องใด ๆ โดยคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการมีมติเป็นประการใดแล้ว ให้มติของคณะกรรมการผูกพันส่วนราชการซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย แม้ว่าในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนั้นของผู้แทนส่วนราชการที่เป็นกรรมการจะมิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยก็ตาม  ถ้ามีความเห็นแตกต่างกันสองฝ่าย ให้บันทึกความเห็นของกรรมการฝ่ายข้างน้อยไว้ให้ปรากฏในเรื่องนั้นด้วย
                ความผูกพันที่กำหนดในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
ข้อ 43    การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร  แต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้นควรทำเช่นใด?
        ก.จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับคำสั่งนั้นบันทึกคำสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษรอักษร
        ข.เมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ ในบันทึกให้อ้างอิงคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย
        ค.ให้บันทึกเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์และให้ผู้บังคับบัญชานั้นลงนามรับรอง
        ง. ข้อ ก.และ ข ถูกต้องแล้วครับ
ตอบ    ง. ข้อ ก.และ ข ถูกต้องแล้วครับ  (มาตรา 26)

มาตรา 26   การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับคำสั่งนั้นบันทึกคำสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ ในบันทึกให้อ้างอิงคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย

ข้อ 44    ให้ส่วนราชการจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ เพื่อความเข้าใจการกระจาย อำนาจในการตัดสินใจ ท่านคิดว่าข้อใดไม่ใช่ ?
ก.  การกระจายอำนาจ เกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต
ข.  การกระจายอำนาจ เกี่ยวกับ การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ
ค.  การกระจายอำนาจ เกี่ยวกับ การดำเนินการอื่นใดของผู้ดำรงตำแหน่งใดให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง
ง.การกระจายอำนาจเกี่ยวกับความรวดเร็ว และเพิ่มขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
ตอบ ง. การกระจายอำนาจเกี่ยวกับความรวดเร็ว และเพิ่มขั้นตอนการปฏิบัติราชการ( มาตรา 27 )
ข้อ 45    ในการจัดให้มีการกระจายอำนาจดังกล่าว เพื่อมุ่งผลประโยชน์อันใด ?
ก. ต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน
ข. ต้องมุ่งผลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมั่นใจ
 ค. ต้องมุ่งผลให้เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจ
 ง. ต้องมุ่งผลให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
 ตอบ ก. ต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน ( มาตรา27  หมวดที่ 5)
ข้อ 46    ในการจัดให้มีการกระจายอำนาจดังกล่าว จะหลีกเลี่ยง ขั้นตอนหรือการกลั่นกรองงานที่ไม่จำเป็นในการปฏิบัติงานของข้าราชการ    และเพื่อเป็น การลดขั้นตอนเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งไม่เกิดผลเสียหายแก่ราชการ ควรดำเนินการอย่างได?
ก.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามความเหมาะสมและกำลังเงินงบประมาณ      ข. ให้วางแผนการบริหารงานบุคคลใหม่
 ค. ต้องเพิ่มงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
ง.ใช้งบประมาณและกำลังคนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ตอบก.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามความเหมาะสมและกำลังเงินงบประมาณ     (  มาตรา 27)


หมวด  5
การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน


 

มาตรา  27  ให้ส่วนราชการจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นใดของผู้ดำรงตำแหน่งใดให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจดังกล่าวต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน
                เมื่อได้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์การควบคุม ติดตาม และกำกับดูแลการใช้อำนาจและความรับผิดชอบของผู้รับมอบอำนาจและผู้มอบอำนาจไว้ด้วย หลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องไม่สร้างขั้นตอนหรือการกลั่นกรองงานที่ไม่จำเป็นในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ในการนี้ หากสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมแล้วจะเป็นการลดขั้นตอนเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งไม่เกิดผลเสียหายแก่ราชการ ให้ส่วนราชการดำเนินการให้ข้าราชการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามความเหมาะสมและกำลังเงินงบประมาณ
                เมื่อส่วนราชการใดได้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง หรือได้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามวรรคสองแล้ว ให้ส่วนราชการนั้นเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
ข้อ 47    ในการจัดให้มีการกระจายอำนาจดังกล่าว ก.พ.ร.ต้องได้รับความเห็นชอบจากใครจึงจะสามารถ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆได้ ?
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 ค. คณะรัฐมนตรี
ง.ทุกข้อต้องประชุมร่วมกัน
ตอบ ค. คณะรัฐมนตรี (มาตรา 28)
มาตรา  28    เพื่อประโยชน์ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจตามมาตรา  27  ก.พ.ร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้
มาตรา  29     ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการแต่ละแห่งจัดทำแผนภูมิขั้นตอน และระยะเวลาการดำเนินการรวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนเปิดเผยไว้    ที่ทำการของส่วนราชการและในระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจดูได้
ข้อ 48   ในกระทรวงหนึ่ง ใครมีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องจัดให้ส่วนราชการภายในกระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกัน?
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ข.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง       
ค. ปลัดกระทรวง
ง.ผู้อำนวยการประจำกระทรวง
ตอบ  ค. ปลัดกระทรวง (มาตรา 30)
ข้อ 49  จากข้อ 48 ในการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนดังกล่าว ประชาชนสามารถติดต่อ สอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใด ๆ กับใครได้?    
ก. ติดต่อศูนย์ร้องเรียนนายกรัฐมนตรี
ข. ติดต่อปลัดกระทรวงเพียงแห่งเดียว
 ค. ติดต่อเจ้าหน้าที่    ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว
ง. ติดต่อรัฐมนตรีประจำกระทรวงเพียงแห่งเดียว
ตอบ ค. ติดต่อเจ้าหน้าที่    ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว(มาตรา 30)
มาตรา 30    ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ส่วนราชการภายในกระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อ สอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใด ๆ  ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในกระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่    ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว
ข้อ 50        ในศูนย์บริการร่วม ให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวต่าง ๆ และดำเนินการส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป หากมีปัญหาหรืออุปสรรคในการปฏิบัติราชการ ให้ส่วนราชการแจ้งใคร ?    
ก. แจ้ง ก.พ.ร.
ข. แจ้งปลัดกระทรวง
 ค. แจ้งเจ้าหน้าที่    ศูนย์บริการร่วม
ง.แจ้งรัฐมนตรีประจำกระทรวงเพียงแห่งเดียว
ตอบ  ก. แจ้ง ก.พ.ร. (มาตรา 31)
มาตรา 31  ในศูนย์บริการร่วมตาม มาตรา 30  ให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวต่าง ๆ และดำเนินการส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป โดยให้มีข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของทุกส่วนราชการในกระทรวง รวมทั้งแบบคำขอต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมที่จะบริการประชาชนได้ ณ ศูนย์บริการร่วม
                ให้เป็นหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องจัดพิมพ์รายละเอียดของเอกสารหลักฐานที่ประชาชนจะต้องจะจัดหามาในการขออนุมัติหรือขออนุญาตในแต่ละเรื่องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการร่วมและให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมที่จะต้องแจ้งให้ประชาชนที่มาติดต่อได้ทราบในครั้งแรกที่มาติดต่อและตรวจสอบว่าเอกสารหลักฐานที่จำเป็นดังกล่าวนั้นประชาชนได้ยื่นมาครบถ้วนหรือไม่ พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบถึงระยะเวลาที่จะต้องใช้ดำเนินการในเรื่องนั้น
                ในการยื่นคำร้องหรือคำขอต่อศูนย์บริการร่วมตาม มาตรา 30 ให้ถือว่าเป็นการยื่นต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในกฎหมายหรือกฎแล้ว
                ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากมีปัญหาหรืออุปสรรคในการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎหมายหรือกฎในเรื่องใด ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ ก.พ.ร . ทราบ เพื่อดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายหรือกฎนั้นต่อไป
ข้อ 51   ข้อใดไม่ใช่บริเวณจัดตั้งศูนย์บริการร่วม  ?          
ก. ศาลากลางจังหวัด   ที่ว่าการอำเภอ
 ข.ที่ว่าการกิ่งอำเภอ
 ค.สถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร
ง.ทุกที่คือที่จัดตั้งศูนย์บริการร่วม
ตอบ   ง.ทุกที่คือที่จัดตั้งศูนย์บริการร่วม(มาตรา 32)
มาตรา 32  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอจัดให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชนในเรื่องเดียวกันหรือต่อเนื่องกันในจังหวัด อำเภอ หรือกิ่งอำเภอนั้น ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมไว้  ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอ หรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร โดยประกาศให้ประชาชนทราบ และให้นำความในมาตรา 30 และ ม. 31 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ข้อ 52  ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็นหรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่  ข้อใดไม่ควรคำนึง?
ก.      คำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน  นโยบายของคณะรัฐมนตรี
ข..คำนึงถึง กำลังเงินงบประมาณของประเทศ
ค.คำนึงถึงการบริหารงานบุคคลและการบริหารทรัพยากรมนุย์
 ง.คำนึงถึงความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน
ตอบ   ค.คำนึงถึงการบริหารงานบุคคลและการบริหารทรัพยากรมนุษย์(มาตรา 33)
ข้อ 53  ในกรณีที่ส่วนราชการเห็นควรยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงภารกิจ ให้ส่วนราชการดำเนินการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง ของส่วนราชการให้สอดคล้องกันต้องเสนอใคร?
ก.เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป
ข.เสนอรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป
ค.เสนอ นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป
ง.เสนอปลัดกระทรวงพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป
ตอบ  ก.เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป(มาตรา 33)

                หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
                มาตรา 33  ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็นหรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายของคระรัฐมนตรี กำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน
                กำหนดเวลาในการจัดให้มีการทบทวนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่ ก.พ.ร. กำหนด
                ในกรณีที่ส่วนราชการเห็นควรยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงภารกิจ ให้ส่วนราชการดำเนินการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และอัตรากำลัง  ของส่วนราชการให้สอดคล้องกัน และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป
                ในกรณีที่ ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นว่าภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการใดรับผิดชอบดำเนินการอยู่สมควรเปลี่ยนแปลง ยกเลิก หรือ เพิ่มเติม ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ให้ส่วนราชการนั้นดำเนินการปรับปรุงภารกิจ อำนาจหน้า โครงสร้างและอัตรากำลังของส่วนราชการนั้นให้สอดคล้องกัน
ข้อ 54  ห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับส่วนราชการดังกล่าวขึ้นอีก  แต่กรณีต่อไปนี้สามารถทำได้?
ก.      มีการเปลี่ยนแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และมีเหตุผลจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ
ข.      มีการเปลี่ยนแปลงแผนทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชนส่วนรวมของประชาชน
ค.      ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.ร.
ง.   ทุกข้อสามารถทำได้
ตอบ  ง.   ทุกข้อสามารถทำได้  (มาตรา 34)
มาตรา   34  ในกรณีที่มีการยุบ เลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือบางส่วน ห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับส่วนราชการดังกล่าวขึ้นอีก เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และมีเหตุผลจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ หรือรักษาผลประโยชนส่วนรวมของประชาชน และโดยได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.ร.
ข้อ 55     ส่วนราชการคำนึงถึงหลักใด ในการที่จะสำรวจตรวจสอบ และทบทวนกฎหมายหรือข้อบังคับให้ใหม่และทันสมัยอยุ่เสมอ  ?
ก.คำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วและลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญ
                ข.คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ
                ค.คำนึงถึงเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ
                ง.คำนึงถึงความเสมอภาพของประชาชนเป็นสำคัญ
ตอบ  ก.คำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วและลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญ (มาตรา 35)
มาตรา   35   ส่วนราชการมีหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศขึ้นใหม่ ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาวการณ์ หรือสอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วและลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญ
                ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการนำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของประชาชนมาประกอบการพิจารณาด้วย

ข้อ 56   ใครมีหน้าที่ต้องเสนอแนะส่วนราชการ ถ้าเห็นว่ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ  ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ช่วยบอกน้องเหมียวหน่อยนะข้อนี้เหมียวอยากรู้?
ก.สำนักคณะกรรมการกฤษฏีกา                                                                                    
ข.สำนักงานพัฒนาระบบราชการไทย
ค.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ง.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ตอบ   ก.สำนักคณะกรรมการกฤษฏีกา       (มาตรา 36)                                                                            

                ในกรณีส่วนราชการที่ได้รับการเสนอแนะไม่เห็นชอบด้วยกับคำเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย

ข้อ 57    จากข้อ 56   ถ้าส่วนราชการไม่เห็นชอบด้วยกับคำเสนอแนะดังกล่าวจะเสนอเรื่องต่อใครเพือพิจารณาวินิจฉัยต่อไป  ? ( ข้อนี้   ว่าที่  ดร.ปาริชาติอยากถาม)
ก.ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
ก.ให้เสนอเรื่องต่อสำนักคณะกรรมการกฤษฏีกา                                                                                   
ข.ให้เสนอเรื่องต่อสำนักงานพัฒนาระบบราชการไทย
ค.ให้เสนอเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ตอบ   ก.ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย (มาตรา 36)
มาตรา 36  ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาเห็นว่ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใด ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการหรือการดำรงชีวิตของประชาชน หรือก่อให้เกิดภาระหรือความยุ่งยากต่อประชาชนเกินสมควร ให้สำนักคณะกรรมการกฤษฏีกาเสนอแนะต่อส่วนราชการนั้นเพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกโดยเร็วต่อไป
                ในกรณีส่วนราชการที่ได้รับการเสนอแนะไม่เห็นชอบด้วยกับคำเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
ข้อ 58    ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่ส่วนราชการควรกำหนดและประกาศให้ประชาชนทราบ?
ก.ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงาน
ข.จำนวนเงินงบประมาณของแต่ละงาน
ค.จำนวนบุคคลกรของงานแต่ละงาน
ง.วัตถุประสงค์ของงานแต่ละงาน
ตอบ   ก.ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงาน(มาตรา 37)

มาตรา  37   ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ส่วนราชการใดมิได้กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานใดและ ก.พ.ร.  พิจารณาเห็นว่างานนั้นมีลักษณะที่สามารถกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จได้ หรือส่วนราชการได้กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จไว้ แต่ ก.พ.ร.เห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ล่าช้าเกินสมควร ก.พ.ร. จะกำหนดเวลาแล้วเสร็จให้ส่วนราชการนั้นต้องปฏิบัติก็ได้
                ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องตรวจสอบให้ข้าราชการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 59    นาย  von  มีปัญหาไม่เข้าใจเกี่ยวกับงานราชการ ได้ติดต่อสอบถามเป็นหนังสือไปยังส่วนราชการนั้น   กรณีนี้ นาย von จะต้องได้รับคำตอบหรือแจ้งการดำเนินของส่วนราชการนั้นให้ทราบภายในกี่วัน?
ก. ภายในสิบห้าวัน
ข.ภายในกำหนดเวลาที่กำหนด
ค.ทั้ง ก แล ะข.
ง. เสร็จเมื่อไรก็ได้ตามลักษณะงาน
ตอบ   ค.ทั้ง ก และข.      (มาตรา 38)   ต้องอ่าน มาตรา 37 ประกอบนะคับ
 มาตรา 38  เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนหรือจากส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าของส่วนราชการนั้น ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในสิบห้าวัน หรือภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ตาม  มาตรา  37
                ข้อ 60   การจัดให้มีระบบเครื่อข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ต้องจัดตามระบบเดียวกับหน่วยงานใด?
ก.ระบบเดียวกับที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ข.ระบบเดียวกับที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศใช้
ค.ระบบเดียวกับคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ
ง.ระบบเดียวกับที่กระทรวงคมนาคมรับรอง
ตอบ  ก.ระบบเดียวกับที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(มาตรา 39)
มาตรา  39  ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครื่อข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะสามารถติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
                ระบบเครือข่ายสารสนเทศตามวรรคหนึ่ง  ต้องจัดทำในระบบเดียวกับที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีขึ้นตาม มาตรา   40
ข้อ 61  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯได้จัดการอย่างไร   เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง  ?
ก.จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
ข.จัดให้มีระบบสารบัญอิเล็กทรอนิสก์กลาง
ค.จัดให้มีระบบศูนย์เครือข่ายบริการประชาชนกลางขึ้น
ง.จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศภาคประชาชนขึ้น
ตอบ  ก.จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น(มาตรา 40)
ข้อ 62    ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการได้ให้ทำอย่างไร?
ก. ให้กระทรวงต้นสังกัดของหน่วยงานจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ
ข. ให้สำนักงานพัฒนาระบบราชการไทยดำเนินการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ
ค ร้องขอให้กระทรวงเทคโนโลยีฯดำเนินการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ
ง ร้องขอให้สำนักงบประมาณจัดงบประมาณให้จัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ
ตอบ  ค ร้องขอให้กระทรวงเทคโนโลยีฯดำเนินการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ(มาตรา 40)
มาตรา   40  เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
                ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการได้อาจร้องขอให้กระทรวงเทคโนโลยีฯดำเนินการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการดังกล่าวก็ได้  ในการนี้กระทรวงเทคโนโลยี ฯ จะขอให้ส่วนราชการให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร ค่าใช้จ่าย และข้อมูลในการดำเนินการก็ได้
ข้อ 63    นาย  von ไม่พอใจการทำงานส่วนราชการแห่งหนึ่งจึงร้องเรียนไปที่หัวหน้าส่วนราชการนั้น ทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ หน่วยราชการจะจัดการอย่างไรบ้าง?
ก. ส่วนราชการนั้นที่จะต้องพิจารณาดำเนินการให้ลุล่วงไป
             ข.ในกรณีที่มีที่อยู่ของบุคคลนั้นให้แจ้งให้บุคคลนั้นทราบผลการดำเนินการด้วย
         ค.มิให้เปิดเผยชื่อหรือที่อยู่ของผู้ร้องเรียนเสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็น
              ง.ถูกหมดทุกข้อ
ตอบ  ง.ถูกหมดทุกข้อ (มาตรา 41)
 มาตรา 41  ในกรณีที่ส่วนราชการได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการ อุปสรรค ความยุ่งยาก หรือปัญหาอื่นใดจากบุคคลใด โดยมีข้อมูลและสาระตามสมควรให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องพิจารณาดำเนินการให้ลุล่วงไป และในกรณีที่มีที่อยู่ของบุคคลนั้นให้แจ้งให้บุคคลนั้นทราบผลการดำเนินการด้วย  ทั้งนี้ อาจแจ้งให้ทราบผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการด้วยก็ได้
                 ในกรณีที่การแจ้งผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ มิให้เปิดเผยชื่อหรือที่อยู่ของผู้ร้องเรียนเสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็น
ข้อ 64    จากข้อ 63 ที่ นาย von ร้องเรียนหรือเสนอแนะ ส่วนราชการ ให้ส่วนราชการที่ออกกฎ ระเบียบ ข้องบังคับ หรือประกาศนั้นพิจารณาโดยทันที  และในกรณีที่เห็นว่าการร้องเรียนหรือเสนอแนะนั้นเกิดจากความเข้าใจผิดในในกฎ ระเบียบ ต้องชี้แจงให้นาย von ทราบภายในกี่วัน
ก.      เจ็ดวัน
ข.      สิบวัน
ค.      สิบห้าวัน
ง.       สามสิบวัน
ตอบ   ค. สิบห้าวัน  (มาตรา 42)
ข้อ 65    จากข้อ 64 ที่ นาย von เป็นข้าราชการและ ร้องเรียนหรือเสนอแนะ ส่วนราชการ  จะแจ้งผ่านหน่วยงานใดได้อีก?
   ก.แจ้งผ่าน ก.พ.ร. ก็ได้
   ข.แจ้งผ่าน  สำนักนายกฯ ก็ได้
   ค.แจ้งผ่าน ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ก็ได้
   ง.แจ้งผ่าน ก.ก.ช. ก็ได้
ตอบ   ก. แจ้งผ่าน ก.พ.ร. ก็ได้(มาตรา 42)
มาตรา  42  เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความสะดวกรวดเร็ว ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ  เพื่อใช้บังคับกับส่วนราชการอื่นมีหน้าที่ตรวจสอบว่ากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้น เป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความยุ่งยากซ้ำซ้อน หรือความล่าช้า ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการอื่นหรือไม่ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็วต่อไป
ในกรณีที่ได้รับการร้องเรียนหรือเสนอแนะจากข้าราชการหรือส่วนราชการอื่นในเรื่องใด ให้ส่วนราชการที่ออกกฎ ระเบียบ ข้องบังคับ หรือประกาศนั้นพิจารณาโดยทันที  และในกรณีที่เห็นว่าการร้องเรียนหรือเสนอแนะนั้นเกิดจากความเข้าใจผิดหรือความไม่เข้าในในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ให้ชี้แจงให้ผู้ร้องเรียนหรือเสนอแนะทราบภายใน  สิบห้าวัน
                               การร้องเรียนหรือเสนอแนะตามวรรคสองจะแจ้งผ่าน ก.พ.ร. ก็ได้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใดมีลักษณะตามวรรคหนึ่งให้ ก.พ.ร.  แจ้งในส่วนราชการที่ออก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้นทราบเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือยกเลิก ต่อไปโดยเร็ว
ข้อ 66     การปฏิบัติราชการในเรื่อง ใด ๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย  ถามหน่อยซิว่า แล้วเรื่องใดบ้างถือว่าจำเป็นไม่ต้องเปิดเผย?
ก. กรณีมีความจำเป็น อย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ
 ข. จำเป็นต่อความมั่งคงทางเศรษฐกิจ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค. การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล  จึงให้กำหนดเป็นความลับได้เท่าที่จำเป็น
ง.ถุกข้อเปิดเผยไม่ได้
ตอบ  ง.ถุกข้อเปิดเผยไม่ได้(มาตรา 43)

มาตรา  43  การปฏิบัติราชการในเรื่อง ใด ๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้นแต่กรณีมีความจำเป็น อย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความมั่งคงทางเศรษฐกิจ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล  จึงให้กำหนดเป็นความลับได้เท่าที่จำเป็น
ข้อ 67     เรื่องใด ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผย ?
ก.ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี
ข.รายการเกี่ยวกับการจัดซี้อหรือจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น          
ค.สัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซี้อหรือจัดจ้างแล้ว
ง.ถุกหมดทุกข้อ
ตอบ   ง.ถุกหมดทุกข้อ(มาตรา 44)
ข้อ 68       ในการจัดทำสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมีข้อความใดบ้าง?
ก.ห้ามมิให้เปิดเผยข้อความหรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว
ข.ควรเปิดเผยสัญญา
ค.ควรเปิดเผยข้อตกลงในสัญญา
ง.ไม่มีข้อห้ามทุกข้อ
ตอบ    ก.ห้ามมิให้เปิดเผยข้อความหรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว (มาตรา 44)
(คือ ในสัญญามีข้อความว่า ไม่ให้เปิดเผยข้อความ..........ไม่ได้)
มาตรา  44  ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีรายการเกี่ยวกับการจัดหรือจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น   และสัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซี้อหรือจัดจ้างแล้ว ให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้      สถานที่ทำการของส่วนราชการ   และระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบหรือความเสียหายแก่บุคคลใดในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง
ในการจัดทำสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมิให้มีข้อความหรือข้อตกลงห้ามมิให้เปิดเผยข้อความหรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว แว้นแต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้ของคับกฎหมาย  กฎ  ระเบียบ  หรือข้องบังคับที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางราชการ  หรือในส่วนที่เป็นความลับทางการค้า
ข้อ 69      ปกติส่วนราชการมีการประเมินผลตามหลักเกณฑ์และแผนปฏิบัติของส่วนราชการที่กำหนดขึ้นอยู่แล้ว แต่เพื่อเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ  คุณภาพการให้บริการ  ความพึงพอใจของประชาชน  จึงให้ส่วนราชการจัดการอย่างไรได้?
ก.       จัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระ
ข.      จัดจ้างคณะผู้ติดตามประเมินผล
ค.      จัดให้มีคณะผู้ตรวจสอบการประเมิน
ง.ถูกทุกข้อ
 ตอบ    ง.ถูกทุกข้อ (มาตรา  45  หมวดที่ 8)
 หมวด  8 
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ 

มาตรา  45 นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตามมาตรา ๙ (๓)  แล้ว ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ  คุณภาพการให้บริการ  ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ  ความคุ้มค่าในภารกิจ  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และระยะเวลาที่  ก.พ.ร.  กำหนด
ข้อ 70       การประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการ  จะต้องกระทำในลักษณะใด?
ก.ต้องกระทำเป็นความลับ        
ข.ต้องกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ
                   ค.ต้องเปิดเผย
              ง.ข้อ ก.และ ข.ถูก
ตอบ    ง.ข้อ ก.และ ข.ถูก (มาตรา 46)

มาตรา 46  ส่วนราชการอาจจัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการได้  ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าวต้องกระทำเป็นความลับและเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ

ข้อ 71   ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง
ก.ประเมินโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ 
ข.ประเมินโดยคำนึงถึงประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานได้รับจากการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้นสังกัด
ค.ประเมินโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
ง. ถูกหมดทุกข้อ
ตอบ  ขอหลอกสักข้อนะ คับ  จริง ๆแล้ว ก  และ ข.ถูก ผมเดาว่าท่านต้องเลือก ข้อ. ง
(มาตรา 47 ครับ)
มาตรา 47  ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ส่วนราชการประเมินโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ  ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดได้รับจากการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้น
ข้อ 72  ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้นได้กรณีใด?
ก. ในกรณีที่ส่วนราชการได้ดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 
ข.ในกรณีที่ส่วนราชการได้ดำเนินการเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน     
ค. ในกรณีที่ส่วนราชการเสนอผลงานให้  ก.พ.ร. ทราบ
ง.ข้อ ค.ผิด
ตอบ   ง.ข้อ ค.ผิด  (มาตรา 48 )
ข้อ 73 ตามข้อ 72 จะใช้วิธีการและหลักเกณฑ์ใด?
ก. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.พ.ร.
ข. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่  ก.พ.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี
ค. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่  นายกรัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.พ.ร.
ง. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่  ก.พ.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ตอบ   ง. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่  ก.พ.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี(มาตรา 48)
มาตรา 48 ในกรณีที่ส่วนราชการได้ดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด  รวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน  ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่  ก.พ.ร.  กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

ข้อ 74  เมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมายโดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์  ก.พ.ร. กำหนดแล้ว ก.พ.ร. สามารถเสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรสิ่งใดให้หน่วยรราชการนั้น?
ก.เพื่อจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น 
ข.เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการนั้นใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น 
ค. ข้อ ก และ ข. ถูก
ง. ข้อ ก และ ข. ผิด
ตอบ   ค. ข้อ ก และ ข. ถูก ( มาตรา 49)

ข้อ 75   จากข้อ 74 ถามความเข้าใจท่านว่า สิ่งที่จัดสรรให้ดังกล่าวเพื่ออะไร มีข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์นั้น ?   
ก.เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการ
ข.เพื่อจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด 
ค.เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางอุปโภคและสาธานูประโภค
ง.หาข้อถูกไม่ได้
ตอบ   ค.เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางอุปโภคและสาธานูประโภค ( มาตรา 49)

มาตรา  49   เมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย  สามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์ โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐหรือสามารถดำเนินการตามแผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยตามหลักเกณฑ์  ก.พ.ร.  กำหนด  ให้ ก.พ.ร. 
เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่  ก.พ.ร.  กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

:: สนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ::