หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างการแบ่งเวลา

การจัดสรรเวลาคืออะไร 
การจัดสรรเวลา คือการวางแผนจัดสรรการใช้เวลาในแต่ละนาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน ปี หรือเวลาชั่วชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในการอ่านหนังสือ


วิธีการจัดสรรเวลาเป็นอย่างไร
จัดสรรเวลาออกเป็นสามส่วนด้วยกัน คือส่วนที่เป็นกิจวัตรส่วนตัว ส่วนที่เป็นเวลาเรียน และอีกส่วนใช้ในการทำกิจกรรม แต่ละส่วนนั้นจะต้องมีความสำคัญเท่า ๆ กัน ไม่ควรเลือกทำอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไปนะครับ ยกตัวอย่างเช่นบางคนชอบเรียนอย่างเดียวไม่สนใจทำอย่างอื่นเลย หรือเด็กกิจกรรมก็ทำกิจกรรมอย่างเดียวไม่ชอบเรียนหนังสือ หรือบางคนไม่เอาทั้งเรียนทั้งกิจกรรมแต่ทำกิจวัตรส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ เช่น เอาแต่นอนและคุยกับเพื่อนเป็นเวลานาน แต่ควรจะทำทั้งสามอย่างพร้อม ๆ กันไป

แบ่งขั้นตอนการจัดสรรเวลาเป็นสองขั้นตอนใหญ่ ๆ คือขั้นแรก เริ่มจากการระบุเวลาที่ต้องทำอย่างแน่นอนในหนึ่งสัปดาห์ก่อน เมื่อเสร็จขั้นนี้แล้ว ก็จะได้เวลาว่างที่สามารถศึกษาเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนได้ ในขั้นที่สองก็จะเริ่มแบ่งว่าเวลาว่างที่ได้นั้นจะศึกษาวิชาอะไร และช่วงไหนบ้าง แต่ละขั้นทำได้ไม่ยาก ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงก็เรียบร้อย รายละเอียดอยู่นี่แล้ว

1. สร้างตารางเวลาขึ้นมา และแบ่งช่องเวลาช่องละหนึ่งชั่งโมง


เวลา
6-7
7-8
8-9
9-10
10-11
11-12
12-13
13-14
14-15
15-16
16-17
17-18
18-19
19-20
20-21
21-22
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัส
ศุกร์
เสาร์
อาทิตย์


2. ระบุช่วงเวลาที่จะทำกิจวัตรส่วนตัวลงไปก่อน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว กินข้าว ออกกำลังกาย จากนั้นก็ให้ระบุเวลาที่เรียนในห้องเรียนลงไป และตามด้วยกิจกรรมที่คุณเลือกทำในภาคการศึกษานั้น ดังตัวอย่าง


เวลา
6-7
7-8
8-9
9-10
10-11
11-12
12-13
13-14
14-15
15-16
16-17
17-18
18-19
19-20
20-21
21-22
จันทร์
อาบน้ำ
แต่งตัว
อ่านก่อนเรียน
ทานข้าว
Physics
English
H
A
-
-
-
-
-
ฝึก
พิมพ์
ดีด
อัง
กฤษ
ออกกำลัง
กาย
อาบน้ำ
ซักผ้า
ทานข้าว
ผักผ่อน
-
-
อังคาร
Physics
IT2
Calculus 2
V
E
-
-
-
-
-
-
พุธ
-
English
-
-
-
-
-
-
-
-
พฤหัส
Physics
IT2
Calculus 2
N
C
-
-
-
-
-
-
ศุกร์
Physics
IT2 Lab
H
-
Physics lab
-
-
-
เสาร์
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
อาทิตย์
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-

3. คำนวณเวลาที่จะต้องกลับมาศึกษาเพิ่มเติม โดยใช้กฎจากที่อาจารย์แนะนำว่า ต้องศึกษาอย่างน้อยสองเท่าของเวลาที่เรียนในห้องสำหรับวิชาบรรยาย เพราะถ้าไม่กลับมาอ่านเพิ่มรับรองว่าทำข้อสอบไม่ได้หรอกครับ คนที่รออ่านวันเดียวก่อนสอบนั้นย่ำแย่ไปหลายรายแล้ว ซึ่งจากตัวอย่าง จำนวนชั่วโมงที่เรียนบรรยายคือ 13 ชั่วโมง ดังนั้นเวลาที่ต้องการในการศึกษาเพิ่มเติมคือ 26 ชั่วโมง

4. สำรวจตารางเวลาของตัวคุณเองจะพบว่า นอกเหนือจากกิจวัตรส่วนตัวและเวลาเรียนในชั้นเรียนแล้ว จะยังมีเวลาว่างอีกกี่ชั่วโมง จากตัวอย่างจะพบว่ามีเวลาว่างทั้งหมด 53 ชั่วโมง คราวนี้ก็อยู่ที่คุณแล้วละว่าจะเอาเวลามากมายนี้ไปทำอะไร จะเอาไปคุยกับแฟนบ้างก็ได้ครับ ไม่ได้ว่ากัน หรือไปสนุกกับเพื่อนก็ได้ แล้วแต่สไตล์ แต่ผมเลือกใช้เวลาอ่านหนังสือละครับ เพราะผมมีเวลาให้เพื่อน ๆ ตอนทานอาหารและหลังสี่ทุ่มแล้ว
5. เมื่อรู้ช่วงเวลาที่สามารถกลับมาศึกษาทบทวนบทเรียนแล้ว ก็ให้เขียนดูว่าเวลาไหนคุณจะอ่านวิชาอะไร เพื่อที่จะให้ความสำคัญกับทุกวิชาเท่ากันไป ไม่อ่านวิชาใดวิชาหนึ่งมากจนเกินไปโดยไม่รู้ตัว หลักเกณฑ์การจัดเวลาที่ผมใช้ก็คือ จะต้องอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนในวันนั้นก่อนที่จะมีเรียนในครั้งต่อไป เพราะถ้าไม่อ่านก่อนจะไม่รู้เรื่องและต่อยอดในคาบต่อไปไม่ถูก และการอ่านแต่ละวิชาจะใช้เวลาวิชาละสองชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ถ้าน้อยกว่านี้ก็อาจจะไม่ได้อะไร และจะพยายามอ่านวิชาคำนวณในตอนกลางวันเพื่อป้องกันการหลับ ให้ดูจากตัวอย่าง อักษรที่เขียนด้วยตัวเอียงแสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ผมกลับมาอ่านเอง

เวลา
6-7
7-8
8-9
9-10
10-11
11-12
12-13
13-14
14-15
15-16
16-17
17-18
18-19
19-20
20-21
21-22
จันทร์
อาบน้ำ
แต่งตัว
อ่านก่อนเรียน
ทานข้าว
Physics
English
H
A
Physics
English
ฝึก
พิมพ์
ดีด
อัง
กฤษ
ออกกำลัง
กาย
อาบน้ำ
ซักผ้า
ทานข้าว
ผักผ่อน
Calculus 2
อังคาร
Physics
IT2
Calculus 2
V
E
IT2
พุธ
English
English
Physics
Physics
พฤหัส
Physics
IT2
Calculus 2
N
C
Physics
IT2
ศุกร์
Physics
IT2 Lab
H
Physics lab
เสาร์
อาทิตย์

6. เมื่อแบ่งเสร็จแล้วให้คุณลองมาวิเคราะห์ตารางดูว่าเป็นอย่างไรจาก ตัวอย่างจะพบว่า

ในหนึ่งสัปดาห์ผมให้เวลากับการเรียนในชั้นเรียน 19 ชั่วโมง (ตัวธรรมดา)

อ่านหนังสือทบทวนและค้นคว้าเพิ่มเติมนอกห้องเรียน 25 ชั่วโมง (ตัวเอียง)

ทำกิจกรรม 7 ชั่วโมง (ตัวขีดเส้นใต้)

ทำกิจวัตรประจำวัน 35 ชั่วโมง (ตัวเอียงขีดเส้นใต้)

นอนวันละ 8 ชั่วโมง

และยังมีเวลาที่ว่าง ๆ สำหรับการพักผ่อนอีก 28 ชั่วโมง

อ่านแคลคูลัส 8 ชั่วโมง

ฟิสิกส์ 8 ชั่วโมง IT และ ภาษาอังกฤษ อย่างละ 4 ชั่วโมง

(จากหลักการต้องหกชั่วโมง)

อ่านหนังสือวันละ 6 ชั่วโมง

และมีเวลาว่างในวัน เสาร์-อาทิตย์ด้วย

แหมแล้วอย่างนี้จะบอกว่าไม่มีเวลาได้อย่างไรกัน คนที่ไม่มีเวลาคือคนบ้ากับคนที่ตายแล้วครับ ทนทั่ว ๆ ไปก็มีเวลาเท่ากันหมด แล้วแต่ว่าจะใช้มันอย่างไร

การใช้เวลาจริง ๆ เป็นอย่างไร

เมื่อจัดสรรเวลาแล้วไม่ใช่ว่าจะทำตามได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ใครทำได้ก็ยอดมนุษย์อุลตร้าแมนแล้ว เพราะจะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่จะมาขัดขวางตารางเวลาของคุณ ที่ผมเคยเจอมาด้วยตัวเองก็พอจะยกตัวอย่างได้บ้าง

• มีประชุม สำนักวิชา กลุ่มสัมพันธ์ สี ชมรม องค์การ สภา จิปาถะ ประชุมได้ประชุมดีจนไม่มีเวลาอ่านหนังสือกันพอดี

• มีการบ้าน เช่นตามตารางต้องอ่านฟิสิกส์ แต่การบ้าน แคลคูลัสยังไม่เสร็จ
ก็ต้องทำการบ้านแคลคูลัสให้เสร็จก่อน

• มีสอบ เช่น ปกติตารางวางไว้ว่าวันนี้ต้องอ่านฟิสิกส์ แต่พรุ่งนี้มีสอบ Quiz วิชาแคลคูลัส วันนี้ก็ต้องให้เวลากับแคลคูลัสก่อน

• มีเรียนชดเชย เช่นอาจารย์นัดสอนชดเชยตอนบ่ายวันพฤหัส หรือตอนหัวค่ำ

• มีไข้ บางทีไม่สบายอ่านหนังสือไม่ไหว

• มีที่นอน บางทีแพ้ใจตัวเอง โดยเฉพาะตอนบ่าย จะง่วงนอนมาก ๆ จนฝืนอ่านไม่ไหว ขอนอนก่อนซักตื่น อันนี้แก่ยากที่สุดเลยครับ

• มีมารผจญ เช่นโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต รายการบันเทิงต่าง ๆ เพื่อนฝูง คอยชักชวนให้สนุกสนานจนไม่ได้อ่านหนังสือ

• มีอุบัติเหตุ เช่น ทำหนังสือตกน้ำ ไฟฟ้าดับ อ่านหนังสือไม่ได้
• มีอะไรอีกมากมาย ที่ทำให้ไม่ได้อ่านหนังสือ

อุปสรรคเหล่านี้ทำให้เวลาที่ที่คุณวางไว้ผิดไป ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น เวลาในช่วงอื่นก็ใช้ได้

ดังนั้นคุณจึงสามารถยืดหยุ่นตารางเวลาที่คุณวางไว้ได้เสมอ โดยการหาเวลาว่างในช่วงอื่นมาทดแทน เช่นใช้เวลาในวันเสาร์-อาทิตย์ มาชดเชยเวลาในวันปกตินั่นเอง

หัวใจสำคัญและสิ่งที่ยากที่สุดของการจัดสรรเวลาก็คือ เมื่อทำตารางจัดสรรเวลาแล้วคุณจะต้องทำตามได้ด้วย ถ้าวางแผนจัดสรรเวลาแล้วทำไม่ได้ก็ไม่รู้จะจัดสรรไปทำไม

ดังนั้นคนที่ตัดสินใจจะจัดสรรเวลาจะต้องมีความตั้งใจจริง มีวินัยในตัวเองสูง และตารางเวลาที่จัดสรรนั้นจะต้องเหมาะสมกับตัวคุณเอง ไม่ฝืนกับชีวิตประจำวันมากเกินไปเพราะอาจทำให้คุณไม่มีความสุขได้

-------------------------------------------------E-N-D----------------------------------------

CrediT-> http://das.wu.ac.th/tdu_students/Tip/article1.html


1 ความคิดเห็น:

:: สนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ::