หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบการบริหารบ้านเมืองที่ดี

แนวข้อสอบ
พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ.2546

1.    “การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ” บัญญัติไว้ในหมวดใดของพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
ก.    หมวด  3                            ข. หมวด   4
ค.    หมวด  5                            ง.  หมวด 6


2.    หมวด 1 ของพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 บัญญัติไว้ด้วยเรื่องใด
ก.    การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ข.    การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ค.    การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ง.    บทเบ็ดเตล็ด
3.    เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองทีดี พ.ศ.2546 คืออะไร
ก.    มีการปฏิรูประบบราชการ
ข.    เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ
ค.    เพื่อให้การบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
       ง.    ถูกทุกข้อ
4.    กรณีองค์กรมหาชน หรือ รัฐวิสาหกิจใด ไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้น ดำเนินการให้ถูกต้องคือใคร
ก.    คณะรัฐมนตรี
ข.    กระทรวงมหาดไทย
ค.    รัฐมนตรีที่กำกับดูแลและองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ
ง.    ก.พ.ร.







5.    หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก.    สำนักนายกรัฐมนตรี
ข.    กระทรวงมหาดไทย
ค.    คณะรัฐมนตรี
ง.    ก.พ.ร.
6.    หน่วยงานใดต่อไปนี้ ต้องจัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ตามพระราชกฤษกีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
ก.    องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ข.    องค์กรมหาชน
ค.    รัฐวิสาหกิจ
ง.    ถูกทุกข้อ
7.    ผู้มีอำนาจเสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษหรือจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการ คือใคร
ก.    ส่วนราชการที่ปฏิบัติงาน
ข.    คณะผู้ประเมินอิสระ
ค.    คณะรัฐมนตรี
ง.    ก.พ.ร.
8.    ผู้มีอำนาจในส่วนราชการ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการความคุ้มค่าในภารกิจ คือใคร
ก  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ข.  องค์กรมหาชน
ค.  รัฐวิสาหกิจ
       ง.    ถูกทุกข้อ
9.    ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง
ก.    งบประมาณรายจ่ายแต่ละปี
ข.    การจัดซื้อจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น
ค.    สัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว
ง.    ถูกทุกข้อ


10.    การอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการ ทุกแห่งส่วนราชการใดต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
ก.    กระทรวง ทบวง กรม
ข.    จังหวัด อำเภอ
ค.    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ง.    ถูกทั้งข้อ ก และ ข
11.    ส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนหรือจากส่วนราชการด้วยกัน มีหน้าที่ต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในกี่วัน
ก.    15 วัน
ข.    10 วัน
ค.    5 วัน
ง.    20 วัน
12.    ผู้มีหน้าที่แจ้งให้ประชาชนที่มาติดต่อได้ทราบในครั้งแรกที่มาติดต่อและตรวจสอบว่าเอกสารหลักฐานที่จำเป็นนั้นประชาชนได้ยื่นมาครบถ้วนหรือไม่ คือใคร
ก.    ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ข.    อธิบดี
ค.    ปลัดกระทรวง
       ง.    เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วม
13.    ผู้มีหน้าที่จัดให้ส่วนราชการภายในกระทรวงจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือใคร
ก.    รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ข.    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
ค.    ปลัดกระทรวง
ง.    ถูกทั้ง ข้อ ก และ ข
14.    กรณีผู้บังคับบัญชาสั่งราชการด้วยวาจา ผู้รับคำสั่งจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.    รีบปฏิบัติราชการตามคำสั่ง
ข.    บันทึกคำสั่งด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษร
ค.    แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร
ง.    ถูกทั้ง ข และ ค

15.    พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดเรื่องการสั่งราชการได้อย่างไร
ก.    ปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร
ข.    กรณีมีความจำเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้
ค.    สั่งราชการด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของผู้บังคับบัญชา
        ง.    ถูกทั้ง ก และ ข
16.    การจัดซื้อจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม โดยพิจารณาถึงอะไรบ้าง
ก.    ประโยชน์และผลเสียทางสังคม
ข.    ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้
ค.    ราคา และประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการ
       ง.    ถูกทุกข้อ
17.    หน่วยงานใดมีหน้าที่จัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรี
ก.    คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข.    สำนักงบประมาณ
ค.    กรมบัญชีกลาง
       ง.    ถูกทั้ง ก และ ข 
18.    ส่วนราชการต้องคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบรายงานต่อหน่วยงานใด
ก.    สำนักงบประมาณ
ข.    ก.พ.ร.
ค.    กรมบัญชีกลาง
       ง.    ถูกทุกข้อ                    
19.    หน่วยงานใดที่มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะให้ส่วนราชการปฏิบัติ
ก.    สำนักงบประมาณ
ข.    คณะรัฐมนตรี
ค.    กรมบัญชีกลาง
       ง.     กระทรวงการคลัง    


20.    หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
ก.    สำนักงบประมาณ
ข.    ก.พ.ร.
ค.    คณะรัฐมนตรี
ง.     ถูกทั้งข้อ ก และ ข
21.    ก.พ.ร.คืออะไร
ก.  คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ข. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ค.  กองพัฒนาราชการ
ง. กรมพัฒนาระบบราชการ
22.    ก.พ.ร.มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไมเกิน
ก. 9 คน
ข. 10 คน
ค. 11 คน
ง. 12 คน
23.    ข้อใดไม่ใช่ “ส่วนราชการ “ตามความหมายใน พรฏ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
ก. กระทรวง
ข. ทบวง
ค. กรม
ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
24.    ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ข. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค. ภาพพจน์ที่ดีในสายตาต่างประเทศ
ง. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ






25.    การบริการกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายกี่ประเภท
ก. 5 ประเภท
ข. 6 ประเภท
ค. 7 ประภท
ง. 8 ประเภท
26.    ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ก. ความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
ข. ความสงบและความปลอดภัยของสังคมส่วนรวม
ค. ประโยชน์สูงสุดของประเทศ
ง. ขวัญและกำลังใจข้าราชการ
27.    ข้อใดไม่ใช่การบริหารราชการโดยถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ก. ก่อนดำเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีผลเสีย
ข. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต
ค. รับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยส่วนรวม
ง. ต้องรายงานผลการปฏิบัติต่อรัฐสภาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
28.    เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนรากชาร
ก. ปรึกษาหารือกัน
ข. บริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน
ค. ประสานแผนกัน
ง. สัมมนาร่วมกัน
29.    การบริหารแบบบูรณาการร่วมกันมุ่งให้เกิด
ก. ประโยชน์สุขของประชาชน
ข. ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค. ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ง. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
30.    การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องเสนอต่อ ครม.ภายในกี่วันนับตั้งแต่วันที่ ครม.แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ก. 90 วัน
ข. 120 วัน
ค. 30 วัน
ง. 40 วัน
31.    ในการจัดทำแผนการบริหาราชการแผ่นดินให้จัดทำเป็นแผนกี่ปี
ก. 1 ปี
ข. 2 ปี
ค. 4 ปี
ง. 5 ปี
32.    เมื่อมีกาปรระกาศใช้บังคับแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้ สนง.คณะกรรมการ
กฤษฏีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาจัดทำแผน
ก. นิติรัฐ
ข. นิติบัญญัติ
ค. พัฒนากฎหมาย
ง. นิติธรรม
33.    ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนรากชารให้จัดทำทุก
ก. ปีงบประมาณ
ข. ปีปฏิทิน
ค. 6 เดือน
ง. 3 เดือน
34.    ในกรณีที่ส่วนราชการได้เสนอแผนปฏิบัติรากชารในภารกิจใจ หรือภารกิจใดไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ร.ม.ต.
ก. ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น
ข. ให้ลงโทษทางวินัยแก่ผู้รับผิดชอบ
ค. ให้ กพร. แจ้งให้ดำเนินการโดยทันที
ง. ให้ กพร.แจ้งให้ดำเนินการภายใน 30 วัน
35.    ให้ส่วนราชการจัดทำ...................ในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทชั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ก. ต้นทุน
ข. บัญชี
ค. บัญชีต้นทุน
ง. บัญชีทุน






36.    ในการกระจายอำนาจการจัดสินใจ
ก. การบริหารแบบมีส่วนร่วม
ข. เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
ค. การทำงานเป็นทีม
ง.  ความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน
37.    ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ขอปลัดกระทรวงที่จะต้องให้ส่วนราชการภายในกระทรวง
รับผิดชอบ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้ง
ก. ศูนย์ประสานราชการ
ข. ศูนย์บริการร่วม
ค. ศูนย์รับเรื่อง
ง. ศูนย์บริการประชาชน
38.    กรณีใด มิใช่ กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่การปฏิบัติราชการ ต้องกำหนดปํนความลับได้เท่าที่จำเป็น
ก. ความมั่นคงของประเทศ / เศรษฐกิจ
ข. ความมั่นคงของรัฐ
ค. การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ง. การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล
39.    ข้อใดไม่ใช่ ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะกรรมการประเมินอิสระ ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ ดังต่อไปนี้
ก. ภารกิจคุณภาพการให้บริการ
ข. ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ
ค. ความคุ้มค่าในภารกิจ
ง. ความพึงพอใจของข้าราชการ
40.    เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ให้เกิดผลสัมฤทธ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการใด
ก. จัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
ข. การประเมินคุณภาพ
ค. การตรวจสอบภายใน
ง. การประเมินตนเอง




41.     เมื่อสิ้นปีงบประมาณส่วนราชการต้องจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการเสนอต่อผู้ใด
ก.  กระทรวงการคลัง
ข. สำนักงบประมาณ
ค. คระรัฐมนตรี
ง. กรมบัญชีกลาง
42.    หน่วยงานใดมีหน้าที่จัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการ เพื่อปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการ ที่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว
ก.    กระทรวงการคลัง
ข.    สำนักงบประมาณ
ค.    คณะรัฐมนตรี
       ง.  กรมบัญชีกลาง
43.    ส่วนราชการมีหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีในแต่ละปีงบประมาณเสนอต่อผู้ใดเพื่อให้ความเห็น
ก.    รัฐมนตรี
ข.    คณะรัฐมนตรี
ค.    ปลดักระทรวง
     ง.    อธิบดี
44.    แผนนิติบัญญัติเป็นแผนเกี่ยวกับเรื่องใด
ก.    กฎหมายที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่
ข.     กฎหมายที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม
ค.     กฎหมายที่ต้องยกเลิก
      ง.    ถูกทุกข้อ
45.    เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ใครเป็นผู้มีอำนาจจัดทำแผนนิติบัญญัติ
ก. คณะกรรมการกฤษฏีกา
ข. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ค. คณะรัฐมนตรี
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
46.    การจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินให้จัดทำเป็นแผนระยะเวลากี่ปี
ก. 4   ปี                             ข.  5 ปี
8.  6  ปี                              ง.  8  ปี

47.    แผนการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว มีผลผูกพันใครบ้าง
ก.  คณะรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรี
ค. ส่วนราชการ
ง. ถูกทุกข้อ
48.    ผู้มอำนาจให้ความเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน คือใคร
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ค. สำนักงบประมาณ
ง. ถูกทุกข้อ
49.    เมื่อคณะรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาพแล้ว ส่วนราชการใด มีหน้าที่จัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 90 วัน
ก. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ข. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการและเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ค. สำนักงบประมาณ
ง. ถูกทุกข้อ
50.    ผู้มีอำนาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรฐานกำกับการปฏิบัติราชการคือใคร
ก. ส่วนราชการทุกส่วนราชการ
ข. ก.พ.ร.
ค. คณะรัฐมนตรี
ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ค.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

:: สนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ::