หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำราชาศัพท์ที่ควรรู้

อีตามเคยวันนี้ผมไม้ไปหาคำราชาศัพท์ที่ผู้ที่จะสอบตำรวจควรจะรู้ใว้เพราะจะมีออกข้อสอบอย่างน้อยหนึ่งข้อละครับเลยเก็บมาฝากน้องๆเพื่อนๆได้ไปศึกษากันเอาใว้เนิ่นๆๆ


ราชาศัพท์

พระนามของพระราชินี, พระบรมโอรสาธิราช และพระเทพ" นะมีไปยาลน้อย(ฯ) ตรงกลาง เพื่อย่อชื่อพระองค์ท่าน
ชื่อเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ คำว่า"ภรณ" ไม่มีเครื่องหมาย "  ์ "
ชื่อพระองค์โสมและพระองค์ภา ไม่มีคำว่า"สมเด็จ"นำหน้า การทำนามเป็นนามราชาศัพท์ ตอนแรก ๆ นี่เราแอบรู้ไปก่อนละกันว่า นามราชาศัพท์คือ คำราชาศัพท์ที่ขึ้นด้วย "พระ" เช่น พระทหัย พระบิดา พระอุปถัมภ์ จะมีคำที่ขึ้นต้นด้วย"พระ"แต่ไม่ใช่นามราชาศัพท์คำเพียงคือ พระราชทาน (เป็นกริยาราชาศัพท์)
ขั้นตอนการทำนามเป็นนามราชาศัพท์เราต้องทำนามที่ชาวบ้านอย่างเราใช้เป็นนามหรู (นามสุภาพมาก )แล้วก็ทำนามหรูให้เป็นนามราชาศัพท์ เช่น มือ > หัตถ์ > พระหัตถ์   ความคิด>ดำริ>พระดำริ
- ทีนี้ก็มีอีกนิดนึง คือ มีบางคนคงถามว่าแล้วทำไมเคยได้ยินว่ามีพระราชดำริ  พระบรมราโชวาท
ก็มาถึงว่า พอเราทำนามนั้นเป็นนามราชาศัพท์ เราก็มาดูอีกว่าเราสามารถเลื่อนในคำนำหน้านามได้ไหม คือ เขามึคำอยู่
3 คำเอาไว้ให้นำหน้าคำนามราชาศัพท์คือ  พระบรม  พระราช  พระ
1.พระบรม ใช้กับ king เท่านั้น
2.พระราช ใช้ได้ 4 องค์คือ king queen พระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพฯ
3.พระ     ใช้กับยศ  พระองค์เจ้าขึ้นไป

มีคำนามราชาศัพท์บางคำที่ข้อสอบออกบ่อยมากจนติด Chart ข้อสอบ Ent คือ
1.อาคันตุกะ แปลว่า คนที่มาเยี่ยม (จริง ๆ ก็คือแขก แต่กลัวเขียนว่า"แขก" แล้วบางคนจะนึกถึง คนขายโรตี คนขายถั่ว แล้วก้อคนเต้นระบำรอบเขา 48 ลูก)
@ถ้าเป็นแขกเป็นคนธรรมดา เรียกว่า อาคันตุกะ
@ถ้าเป็นของ king queen เรียกว่าพระราชอาคันตุกะ
-นายกฯอังกฤษเดินทางมาเยือนไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของในหลวง
-สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาทรงเป็นอาคันตุกะของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

2.กำหนดการ   ใช้กับการกำหนดเรื่องทั่ว ๆ ไป
   หมายกำหนดการ  ใช้กับเรื่องที่ราชสำนักกำหนด 
3.วันคล้ายวันเกิด ถ้าเป็นวันคล้ายวันเกิดในหลวง เรียกว่า วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ (แอบเห็นคำว่า"บรม" ไหม - - นั่นแหละแสดงว่าเป็นของ K) บางทีเราก้อเรียกว่า "วันเฉลิมพระชนมพรรษา"


อายุ
อายุของในหลวงและพระบรมราชินี เราเรียกว่า"พระชนมพรรษา"
ส่วนอายุของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระเทพฯ เราเรียกว่า"พระชนมายุ"

การทำเป็นกริยาราชาศัพท์
1. ให้เปลี่ยนกริยานั้นเป็นกริยาราชาศัพท์เลย ถ้าเปลี่ยนได้
2.ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนได้ทันทีให้เอา ทรง มานำหน้า (แต่ต้องแอบรู้กันก่อนนะว่าเราจะเอา ทรง +อะไรก็ได้ แต่ห้ามเอาทรง + กริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงเสด็จ ทรงประทาน) กริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงวิ่ง ทรงม้า ทรงช้าง ทรงพระราชนิพนธ์

มีที่ทำกันผิดเยอะมาก 2 จุดคือ
@คำไหนเปลี่ยนเป็นกริยาราชาศัพท์ได้เลยต้องเปลี่ยนนะ จะเอาทรงมานำหน้าทำเป็นกริยาราชาศัพท์ไม่ได้ เพราะมันเปลี่ยนของมันได้อยู่แล้ว เช่น ทรงกิน ต้องเป็นเสวย ท่รงนอน ต้องเป็นบรรทม
@เราห้ามเอา"ทรง" + กริยาราชาศัพท์ แต่"ทรง" + นามราชาศัพท์ได้เช่น
ทรงสุบิน ไม่ได้  ทรงนิพนธ์ ก็ไม่ได้ แต่ต้องทรงพระสุบิน ทรงพระราชนิพนธ์(ก็มีคำว่า พระ ขึ้นต้นไง)
มีกริยาราชาศัพท์ที่ข้อสอบออกบ่อย อยู่ 3-4ตัว

ให้(ถวาย)
1.ของที่ถวายเป็นของเราอยู่นะ ยังไม่ต้องเปลี่ยนเป็นคำราชาศัพท์ เช่น เราถวายหมวกให้พระองค์ภา เพราะหมวกเป็นของเรา อย่าไปแก้เป็น "พระมาลา" จะกลายเป็นว่าเรานี่ใหญ่โตจนหมวกของเราเป็นพระมาลา
2.ถ้าต้องการถวายของให้พระองค์โสมและพระองค์ภาใช้คำว่า "ถวาย" เลย
3.ถ้าต้องการถวายของให้เจ้านายระดับสูง หน้าคำว่าถวายต้องมีคำว่า"ทูลเกล้าฯ" หรือ "น้อมเกล้าฯ"
ถ้าสิ่งที่เราถวายยกขึ้นมาได้ใช้ "ทูลเกล้า" เช่น เงิน ช่อดอกไม้ แว่นตา ปริญญา
ถ้าสิ่งที่เราถวายยกขึ้นมาไม่ได้ใช้ "น้อมเกล้าฯ" เช่น รถ ช้าง ม้า เครื่องบิน พระพรชัย (ก้อ"พร"ยกขึ้นมาไม่ได้นี่)
4.ที่ต้องระวังคือ "ถวายการต้อนรับ" กับ "ถวายความจงรักภักดี" เขาไม่ใช้กัน คือผู้ใหญ่มองว่าไปเลียนแบบการพูดของฝรั่งให้แก้เป็น "เฝ้ารับเสด็จฯ" และ"มีความจงรักภักดี"

เดินทาง(เสด็จ)
1.king queen สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและพระเทพฯ ใช้คำว่า "เสด็จพระราชดำเนิน" หรือ "เสด็จฯ" (ต้องมีไปยาลน้อยด้วยนะ)
แต่ถ้าเป็นเจ้านายองค์อื่น ๆ เดินทางให้ "เสด็จ" เฉย ๆ
2.กรณีต่อไปนี้ทุกพระองค์รวมทั้งในหลวงด้วย ให้ใช้คำว่า"เสด็จ"เฉย ๆ คือ เสด็จเข้า เสด็จออก เสด็จขึ้น เสด็จลง เสด็จยืน เสด็จประทับ เสด็จประพาส เสด็จนิวัตพระนคร เสด็จพระราชกุศล
-ในหลวงเสด็จจาก กทม. ไปประทับวังต่างจังหวัด เรียก "เสด็จฯ แปรพระราชฐาน"
-ในหลวงเสด็จกลับจากวังต่างจังหวัด เรียกว่า "เสด็จนิวัตพระนคร


สรรพนามราชาศัพท์
1.เวลาเจอเจ้านายชั้นสูงให้เราเรียกตัวเองว่า "ข้าพระพุทธเจ้า"
2.เวลาแทนชื่อเจ้านาย ถ้าเป็นในหลวง, พระราชินี เรียกพระองค์ท่านว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ถ้าเป็นพระบรมโอรสาธิราช พระเทพ เรียกพระองค์ท่านว่า "ใต้ฝ่าละอองพระบาท"

เจ้าฟ้าหญิง ใช้คำว่า "ใต้ฝ่าพระบาท"
3.เวลาจะพูด ถ้าเป็น K Q ใช้ "ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท" ฝ่าละออง...ไม่มีคำว่า"ใต้"นะ
4.เวลาพูดจบให้ลงท้ายว่า"ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ"ถ้าเป็นจดหมาย"ควรมิควรสุดแล้วจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ"
5.คำว่า"ต่อหน้า" ใช้ว่า"เฉพาะพระพักตร์" สำหรับพระสังฆราชให้ใช้ราชาศัพท์เท่ากับองค์ภาเช่นเสวย บรรทม ประชวร
ระวัง!พระสงฆ์องค์อื่นถึงจะเป็นพระราชาคณะ ยังไงก็ยังไม่ใช่สังฆราชก็ใช้คำสำหรับพระธรรมดาเช่นฉัน


ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai04/28/lakpasa/Lak7.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

:: สนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ::