หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พรบ. ตำรวจ 36 ข้อ เน้นๆ โดนๆ

แนวข้อสอบ พรบ.ตำรวจ เน้นๆ
เพื่อนๆลองเอาไปอ่านดูนะครับแนวข้อสอบ พรบ.ตำรวจวันนี้งานยุ่งมากเลยไม่ได้มาเขียนบล็อกแต่จะพยายามหาข้อมูลมาให้นะครับ

1. การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดใน กฎ ก.ตร. และให้ทำโดย.....ประกาศพระบรมราชโองการ

2. พนักงานสอบ สวนผู้ชำนาญการพิเศษที่ได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ส.4 และ ผ่านการประเมินแล้ว จะให้ผู้นั้นเป็นพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่ากี่ปี.....3 ปี

3. ตามหลักเกณฑ์การบรรจุ การแต่งตั้งและการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการตำรวจ การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจในตำแหน่งสารวัตร ต้องแต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจตั้งแต่ยศใดขึ้นไป.....ยศร้อยตำรวจเอกขึ้นไป แต่ไม่สูงกว่าพันตำรวจโท

4. การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งที่ต่ำกว่า ตำแหน่งเดิมจะกระทำได้ต่อเมื่อ.....ได้รับอนุมัติจาก ก.ตร. เป็นพิเศษเฉพาะราย
5. การเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเกินสองขั้น ต้องได้รับความยินยอมจาก....ก.ตร.

6.หลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนข้าราชการตำรวจ
- การรักษาระเบียบวินัย
-ปริมาณงานที่ได้ปฏิบัติมา
-คุณภาพของงานที่ได้ปฏิบัติมา

7.ข้าราชการตำรวจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพตามภาวะเศรษฐกิจได้ตาม..
- หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฏีกา

8.ข้า ราชการตำรวจซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดก็จะได้รับเงินเดือนขั้น ต่ำในระดับนั้นๆ แต่อาจรับเงินเดือนสูงขึ้นกว่าที่กำหนดไว้โดยวิธี
- กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการได้รับเงินเดือนโดยตราเป็นพระราชกฤษฏีกา

9.กรรมการข้าราชการตำรวจจะเป็นกรรมการใน ก.ตร. ในขณะเดียวกันได้หรือไม่
- ไม่ได้ ยกเว้น นกยกรัฐมนตรี และ ผบ.ตร.

10.การบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจพระราชบัญญัตินี้ ให้ใครเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้ง
- ให้ผู้บังคับบัญชาตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้ง

11.การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตั้งแต่ ผบช. ถึงจเราตำรวจและรอง ผบ.ตร. ให้ใครคัดเลือกแล้วเสนอใคร
-ผบ.ตร. คัดเลือก แล้วเสนอ ก.ตร.

12.การ แต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการลงมาไม่สูงกว่าเดิม ภายในกองบังคับการที่สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือในกองบังคับการที่มิได้สังกัดสำนักงานผุ้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ให้ผู้บังคับการเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง

13.การ แต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้บัญชาการลงมาจากส่วนราชการหนึ่งใน สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกับกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนัก งานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ทำอย่างไร
-ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้องทำความตกลงกัน
-ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ ก.ตร. ให้ความเห็นชอบก่อน
-ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

14.กรณีที่เห็นว่าการใช้อำนาจในการแต่งตั้งตำแหน่งรองผู้บัญชาการไม่เป็นธรรมให้ทำอย่างไร
-ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการลงมาได้ตามควรแก่กรณี

15.หากผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ...
-ไม่ให้ถือว่าผู้นั้นเคยเป็นข้าราชการตำรวจ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

16.เกี่ยวกับการสั่งให้ข้าราชการตำรวจประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือส่วนราชการใด หรือสำรองราชการในส่วนราชการใด
-โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมและโดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้
-ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งได้สำหรับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฏ ก.ตร.
-ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสำหรับข้าราชการตำรวจทุกตำแหน่ง

17.เกี่ยวกับการรักษาราชการแทน
-ใน กรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งให้ข้าราชการตำรวจผู้ใดรักษาราชการแทนและมีผู้ดำรง ตำแหน่งรองของตำแหน่งนั้น ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองเป็นผู้รักษาราชการแทน
-ถ้า ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยของตำแหน่งดังกล่าว ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเป็นผู้รักษาราชการแทนในตำแหน่งนั้น
-ถ้าไม่มี ทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วย หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ก็ให้ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้มี อาวุโสตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ตร.ในส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นเป็นผู้รักษาราชการแทน

18.โทษทางวินัยตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มี 7 สถานได้แก่
- ภาคทัณฑ์
-ทัณฑกรรม
-กักยาม
-กักขัง
-ตัดเงินเดือน
-ปลดออก
-ไล่ออก

19.การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการตำรวจ ระดับ ส.6 ส.7 ส.8 จะต้องทำอย่างไร
-ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ตร.
20.อัตรา เงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและการจ่ายเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ ให้เป็นไปตาม
-กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง

21.ใน กรณีที่ตำแหน่งข้าราชการตำรวจในส่วนราชการหรือหน่วยงานใดในสำนักงานตำรวจ แห่งชาติว่างลงหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำหรับตำแหน่งใดบ้างที่สามารถสั่งให้ข้าราชการตำรวจซึ่งเห็นสมควรรักษา ราชการแทนในตำแหน่งนั้น
-จเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

22.ใน กรณีที่ตำแหน่งข้าราชการตำรวจในส่วนราชการ หรือหน่วยงานใดในสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่างลง หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งใดไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้ผุ้บัญชาการหรือตำแหน่งเทียบเท่าสำหรับตำแหน่งใดบ้าง ที่สามารถสั่งให้ข้าราชการตำรวจซึ่งเห็นสมควรรักษาราชการแทนในตำแหน่งนั้น ได้
-ตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับการพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษหรือตำแหน่งเทียบเท่าลงมาในส่วนราชการนั้น

23.การ ให้ทำงานโยธา การให้อยู่ยาม นอกจากหน้าที่ประจำหรือการให้ทำงานสาธารณประโยชน์ ไม่ไม่เกินหกชั่วโมงต่อวัน หมายถึงโทษทางวินัยสถานใด......ทัณฑกรรม

24.เงิน เดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่น และการจ่ายเงินดังกล่าว ของผู้ถูกสั่งพักราชการและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน .....ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น

25.ข้าราชการตำรวจผู้ใดประสงค์จะลงออก.....ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง
26.ผู้บังคับบัญชาตำแหน่งใดที่การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ....ผู้บัญชาการ

27.กฏ ก.ตร.ว่าด้วยการสอบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ.2547 มีผลใช้บังคับเมื่อใด
- วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

28.เมื่อ มีการกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจผู้ใดกระทำผิดวินัย หากผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาในเบื้องต้นแล้วไม่มีมูลหรือมีพยานหลักฐานฟัง ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือมีมูลเพียงพอที่จะแต่ง ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการสอบสวนข้อเท็จจริง พงศ.2547 กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามข้อใด
- ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งการไปภายในอำนาจโดยไม่ต้องสืบข้อเท็จจริง

29.กฏ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2547 ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายใด
-มติอนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ

30.กฏ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2547 ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
-วันที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ. 2547

31.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ
-ผู้ ประเมิน หมายถึง ผู้บังคับบัญชาเหนือระดับขึ้นไป ซึ่งรับผิดชอบในการปกครอง บังคับบัญชา ดูแลสั่งการ ควบคุมการปฏิบัติราชการและความประพฤติของผู้รับการประเมิน

32.การ ดำเนินการของ ด.ต.หม่อง เมื่อเห็นว่าผลการประเมินของตนไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้า ราชการตำรวจ พ.ศ.2647
-กรณีไม่มีคณะกรรมการประเมิน เข้าพบผู้ประเมิน เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการ หรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการประเมินภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่รับทราบผลการประเมิน

33.กฏ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมฯ ออกโดยอาศัยอำนาจใด
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 279 และมาตรา 280
- พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 31(2) และ 77
- มติ ก.ตร.ในการประชุมครั้งที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคม พ.ศ. 2551

34.เกี่ยวกับ กฎ.ก.ตร.
-ตาม กฎ ก.ตร.ว่าด้วยประมวลจริยธรรมฯให้ถือว่าประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ท้ายกฎ ก.ตร. นี้ เป็นประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจตามมาตรา 279 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และเป็นจรรยาบรรณของตำรวจตามมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

35.กองบัญชาการศึกษา....ทำหน้าที่ส่งเสริมจริยธรรมและพัฒนาคุณธรรมของข้าราชการตำรวจ
36.หาก จเรตำรวจพบว่าหน่วยงานตำรวจตำรวจหรือข้าราชการตำรวจใด ละเมิดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ..ในกรณีใด..ที่ จเรตำรวจแห่งชาติต้องรายงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และแจ้งผู้บังคับบัญชาในระดับกองบัญชาการหรือหน่วยงานเทียบเท่ากองบัญชาการ สอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
- โดยพฤติการณ์ดังกล่าวอาจเกิดผลกระทบในทางเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและเกียรติภูมิของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

:: สนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ::